จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 241
มาตรการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ: ศึกษากรณี
สหรัฐอเมริกา สาธารณเกาหลี และเขตเศรษฐกิจไต้หวัน[1]
Corruption Prevention Measures in Public Procurement:
Case Studies U.S.A., Republic of Korea and Chinese Taipei
ปัญหาสำคัญในการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมี 3 ประการ ประกอบด้วย 1) ปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย 2) ปัญหาเชิงสถาบันและกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้าง และ 3) ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเมื่อศึกษาถึงมาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของสหรัฐอเมริกา สาธารณเกาหลี และเขตเศรษฐกิจไต้หวัน พบว่า กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในเขตเศรษฐกิจไต้หวัน มีการกำหนดรายละเอียดของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างน้อยกว่าในสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเกาหลี อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับหลักการเปิดเผยให้สาธารณชนทราบเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐน้อยอีกด้วย ในขณะที่ทั้งในสหรัฐอเมริกาแลและสาธารณรัฐเกาหลีต่างให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างให้ประชาชนทราบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมแก่ประชาชนทุกฝ่ายทีต้องการทราบหรือเข้าร่วมแข่งขันเพื่อทำสัญญากับภาครัฐ อีกทั้งจากการศึกษาพบว่า ในสาธารณรัฐเกาหลีมีจุดเด่นของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในแง่ที่ว่ามีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วให้แก่ประชาชนที่ต้องการเข้ามาเป็นคู่สัญญากับภาครัฐ นอกจากนี้ ในแง่ของมาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง พบว่า สหรัฐอเมริกา ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนากลไกป้องกันและตรวจสอบการทจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เพราะมีมาตรการในการตรวจสอบประวัติการเข้าเป็นคู่สัญญากับภาครัฐ มาตรการในการทำประชาพิจารณ์ในการจัดซื้อจัดจ้างที่มีต้นทุนสูง รวมถึงมาตรการสั่งระงับการจัดซื้อจัดจ้างที่มีเหตุน่าสงสัยว่าอาจมีการทุจริตเกิดขึ้น
[1] สรุปจากวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (มกราคม 2557 : เขียนบทความโดย คณพล จันทน์หอม และ ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มจันทร์)
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.nacc.go.th/download/sakdinan_khu/y72/ton2_4.pdf