จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 462
แนวปฏิบัติตามกลยุทธ์ในการป้องกันการทุจริตเชิงรุก[1]
Implementing Proactive Corruption Prevention Strategy
ปัญหาการทุจริตได้ส่งผลกระทบเสียหายร้ายแรงต่อสังคมและประเทศชาติในวงกว้าง ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม และเท่าทันต่อสถานการณ์การทุจริตยิ่งขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาให้เกิดการป้องกันการทุจริตเชิงรุก ซึ่งแนวทางการปฏิบัติงานจะมีความแตกต่างจากเดิมที่ได้ดำเนินงานมา โดยการเปิดโอกาสให้องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบูรณาการ การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งมีการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ มาปรับใช้เพื่อให้การป้องกันการทุจริตเข้าถึงกลุ่มประชาชนในทุกภาคส่วน เพื่อให้การป้องกันการทุจริตเชิงรุก ประสบผลสำเร็จตรงตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564) ตามยุทธศาสตร์ที่ 4 “การพัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก” จึงได้มีแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อนำไปดำเนินการปรับใช้ไว้ตามกลยุทธ์ทั้ง 8 กลยุทธ์ ได้แก่
[1] สรุปจากวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (1 มกราคม 2560 : เขียนบทความโดย พงษ์พันธ์ โตสกุลไกร)
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.nacc.go.th/download/sakdinan_khu/y101/ton1_6.pdf