จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 168
คอร์รัปชันในประเทศไทย: กรณีศึกษาการทุจริตและสภาวการณ์ทางสังคม-การเมืองในวงการก่อสร้างไทย[1]
Corruption in Thailand: A Study of Corruption and the
Socio-Political Environment in Thailand’s Construction Sector
บทความนี้เป็นการศึกษาการทุจริตในประเทศไทย เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์จากดัชนีชี้วัดการทุจริต ทั่วโลกและจากการสำรวจความคิดเห็นของคนในประเทศว่าประเทศไทยมีอัตราการทุจริตสูง บทความนี้ ศึกษาปัจจัยอื่นที่มีผลต่ออัตราการทุจริตที่สูง โดยใช้วงการก่อสร้างไทยเป็นกรณีศึกษา
ผู้เขียนใช้เครื่องมือในการวัดปัญหาการทุจริตที่ได้รับความนิยม มี 5 ดัชนี คือ ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (CPI) ดัชนี ซึ่งใช้ชี้วัดภาพลักษณ์ด้านทุจริต เป็นรายปีในระยะแรกดัชนีCPI ครอบคลุมการวัด ภาพลักษณ์ทุจริตใน 41 ประเทศ จนปัจจุบัน ได้ขยายจนครอบคลุมกว่า 170 ประเทศและเขต เศรษฐกิจ อีกดัชนีคือ Global Corruption Barometer (GCB) ซึ่งสำรวจความคิดเห็นและ ประสบการณ์ตรงของประชาชนในสังคมต่อปัญหา การทุจริตใน 11 ภาคส่วนสำคัญ ได้แก่ พรรคการเมือง รัฐสภา ตำรวจ ภาคธุรกิจ สื่อมวลชน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ สถาบันศาล หน่วยงานเอ็นจีโอ สถาบันศาสนา ทหาร และระบบการศึกษา และดัชนีWorld Governance Index (WGI) ที่พัฒนา โดยธนาคารโลก (World Bank) ได้รายงานความ คิดเห็นและมุมมองของประชาชน นักธุรกิจ และ ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน และหน่วยงาน เอ็นจีโอ ต่อคุณภาพของระบบอภิบาลของประเทศ สำหรับองค์กรของไทยมีการจัดทำดัชนีได้แก่ดัชนีสถานการณ์ทุจริตไทย หรือ Corruption SituationIndex (CSI) 2 โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และดัชนี วัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ 3 ที่พัฒนา โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ(ป.ป.ช.) ซึ่งดัชนีเหล่านี้ล้วนชี้ให้เห็นว่า ทุจริตเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย
ผู้เขียนใช้กรอบทฤษฎี 2 กรอบทฤษฎี คือ Collective ActionและState-in-Society โดยกรอบทฤษฎีแรก เสนอว่าคนในสังคมแต่ละสังคมล้วนเป็นผู้แสวงหา ประโยชน์สูงสุดเพื่อตัวเอง และเสนอว่าพฤติกรรม ของคนแต่ละคนในสังคมจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรม ของคนอื่น ๆ ในสังคมเดียวกัน ดังนั้นผลประโยชน์ และต้นทุนของการทุจริตจึงขึ้นอยู่กับพฤติกรรม การทุจริตและการยอมรับการทุจริตของคนอื่น ๆ ในสังคมนั้น ๆ กรอบทฤษฎีที่สอง คือ State-in-Society ซึ่งสามารถให้มุมมองเชิงพลวัต (dynamic) ในความเข้าใจต่อการออกแบบและ ปฏิบัติใช้นโยบายของรัฐโดยสถาบันต่าง ๆ ของรัฐ และสังคม โดยทฤษฎีนี้มีมุมมองต่อสังคมว่าเป็นที่ที่ องค์กรและหน่วยต่าง ๆ มารวมอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ใช่ เป็นองค์รวมหนึ่งเดียวกัน โดยหลักการแล้วทฤษฎี นี้มีแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ของ งานวิจัยนี้2ข้อคือการมองว่ารัฐเป็นส่วนหนึ่งของ สังคม ดังนั้นการออกแบบกฎระเบียบใด ๆ ที่รัฐ บังคับใช้ในสังคมจำเป็นจะต้องพิจารณารวม สภาวะแวดล้อมทางสังคม-การเมืองของสังคมนั้น ๆ ไว้ด้วย และข้อสองคือ มุมมองว่ารัฐไม่ใช่องค์รวม หนึ่งเดียว ดังนั้นความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ ระหว่างรัฐ องค์กรของรัฐ และหน่วยต่าง ๆ ในสังคม จึงมีผลกระทบต่อประสิทธิผลของมาตรการและ นโยบายต่าง ๆ ของรัฐ รวมทั้งมาตรการต่อต้านทุจริต ด้วยมุมมองผ่านกรอบทฤษฎีที่อธิบายมานี้ สรุปได้ว่าความเข้าใจในสภาวะแวดล้อมทางสังคมการเมืองของสังคมนั้น ๆ หรือกระทั่งภายในวงการ ภาคอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม ของคนและลักษณะการทุจริต จึงมีความสำคัญต่อ การวิเคราะห์การทุจริต เพื่อออกแบบ มาตรการ และนโยบายการต่อต้านทุจริตให้มีประสิทธิผล บทความวิชาการนี้มุ่งวิเคราะห์และอธิบาย สภาวะแวดล้อมทางสังคม-การเมืองของวงการ การก่อสร้างไทยผ่านกรอบทฤษฎีทั้งสอง
งานศึกษาวิจัยเรื่องทุจริตมักจะศึกษาการ ทุจริตในภาพรวมของทั้งประเทศหรือเปรียบเทียบ ระหว่างประเทศและภูมิภาค มีเพียงจำนวนไม่มาก ที่จะศึกษาเชิงลึกในภาคส่วนหนึ่งใดโดยเฉพาะ ซึ่งการศึกษาแยกภาคส่วน (sectoral research) มีความสำคัญต่อการออกแบบมาตรการและ นโยบายต่อต้านทุจริตมาก เนื่องจากลักษณะและ ระดับการทุจริตนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ในแต่ละภาคส่วน สาเหตุที่เลือกภาคอุตสาหกรรม ก่อสร้างมาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากลักษณะพิเศษ สามประการของอุตสาหกรรมนี้คือ หนึ่ง มีขนาดใหญ่ และสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม สอง มีความเกี่ยวข้องและสุ่มเสี่ยงกับการทุจริตที่สูง และสาม การทุจริตในภาคส่วนนี้ส่งผลกระทบเชิงลบ ต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง
ขั้นตอนของงานก่อสร้าง สามารถแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่ 1) ขั้นตอนการวางแผนและออกแบบโครงการ 2) ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง 3) ขั้นตอนการก่อสร้าง และ 4) ขั้นตอนการส่งมอบงานและซ่อมบำรุง
การทุจริตในประเทศไทย โดยเฉพาะ ในวงการก่อสร้างนั้นมีความรุนแรงและการ กระจายตัวสูง จนกระทั่งถูกมองว่าเป็นบรรทัดฐาน ของสังคมเลยทีเดียว ข้อสรุปนี้สามารถพิสูจน์ได้ จากหลักฐานเชิงประจักษ์และข้อมูลทางสถิติ สถานการณ์เช่นนี้สร้างผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อสังคมและเศรษฐกิจทั้งของภาคส่วนนี้และ ต่อประเทศไทยโดยรวม โดยมีงานวิจัยหลายชิ้น ยืนยันถึงผลกระทบนี้บทความวิชาการนี้เสนอจาก การวิเคราะห์เชิงลึกในภาคส่วนหนึ่ง ซึ่งในคือ วงการก่อสร้างไทยโดยใช้กรอบทฤษฎีCollective ActionและState-in-Society วิเคราะห์สภาวการณ์ ทางสังคม-การเมืองในวงการการก่อสร้างไทย และ พบว่า สภาวการณ์ทางสังคม-การเมืองในวงการ การก่อสร้างนั้น ส่งเสริมให้เกิดการทุจริตเกิดขึ้นได้ ในหลายรูปแบบ และมีความซับซ้อนมากซึ่งสามารถ ส่งผลให้ลดทอนประสิทธิผลของมาตรการและนโยบายต่อต้านการทุจริต ดังนั้นจึงสำคัญมาก ที่ผู้ออกแบบมาตรการและนโยบาย และผู้ที่นำ มาตรการและนโยบายเหล่านี้ไปปฏิบัติใช้จะต้องมี ความเข้าใจในสภาวการณ์ทางสังคม-การเมืองของ สังคมหรือภาคส่วนนั้น ๆ อย่างลึกซึ้งภายใต้กรอบ ทฤษฎีเหล่านี้ เพื่อนำไปพิจารณาในการออกแบบ และปฏิบัติใช้มาตรการและนโยบายต่อต้านทุจริต ให้มีประสิทธิผล
[1] สรุปจากวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ( กรกฎาคม 2558 : เขียนบทความโดย ต่อภัสสร์ ยมนาค)
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.nacc.go.th/download/sakdinan_khu/y82/ton2_3.pdf