Contrast
banner_default_3.jpg

คณะกรรมการ ป.ป.ช. กับการตรวจสอบทรัพย์สินแบบภาพนิ่ง

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 218

18/12/2563

คณะกรรมการ ป.ป.ช. กับการตรวจสอบทรัพย์สินแบบภาพนิ่ง[1]

Universites and Good Governance

 

วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบถึงความถูกต้องและความมีอยู่จริง รวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิ้นนั้นมีเป้าหมายหลักดังนี้ 1) เพื่อสร้างความโปร่งใสให้ระบบการเมืองและราชการ ทั้งเป็นการส่งเสริมการมีคุณธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เกิดขึ้น 2) เพื่อป้องกันการทุจริตและคัดกรองบุคคลเมื่อเข้าสู่ตำแหน่ง ไม่ให้ผู้ไม่สุจริตมีโอกาสใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่กระทำการทุจริต และ (3) เป็นมาตรการเสริมการปราบปรามการทุจริต เพราะวัตถุประสงค์หลักของการทุจริต คือ ต้องการทรัพย์สิน วิธีการตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินมีสามวิธี ได้แก่ การตรวจสอบปกติ การตรวจสอบเพื่อยืนยันข้อมูล และการตรวจสอบเชิงลึก ซึ่งการตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินแต่เดิมที่เรียกว่าเป็นภาพนิ่งนั้น คือ การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่ ณ เวลาหนึ่ง (เวลาเข้ารับตำแหน่ง) เปรียบเทียบกับจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินที่มีอยู่อีก ณ เวลาหนึ่ง (เวลาพ้นจากตำแหน่ง) โดยไม่ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายการทรัพย์สินและหนี้สินในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จึงได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542                   ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. สามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในระหว่างดำรงตำแหน่งได้เป็นการตรวจสอบในเวลาปัจจุบัน (real time) หากพบความผิดปกติคณะกรรมการ ป.ป.ช. สามารถดำเนินการตรวจสอบได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อพ้นตำแหน่ง

 

 

[1] สรุปจากวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2558 : เขียนบทความโดย วรวิทย์  สุขบุญ)

   สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.nacc.go.th/download/sakdinan_khu/y81/ton1_3.pdf

Related