จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 112
ภาระการพิสูจน์ในคดีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติและคดีร่ำรวยผิดปกติ
ที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.[1]
Burden of Proof under the Nacc Authority
ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปรากฏว่าร่ำรวยผิดปกติ หรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริงรวมทั้งความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ปรากฏว่า ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งให้ผู้นั้นชี้แจงการพิสูจน์การได้มาของทรัพย์สินว่าได้มาอย่างไร พร้อมทั้งแสดงเอกสารหลักฐานประกอบ โดยผู้นั้นมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ว่าทรัพย์สินมิได้เกิดจาการร่ำรวยผิดปกติ หรือเป็นทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ ทั้งนี้การพิสูจน์จะต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงประกอบการชี้แจงให้มีน้ำหนักได้มาตรฐานการพิสูจน์ ซึ่งมาตรฐานการพิสูจน์มีความสำคัญทั้งในด้านของเรื่องหน้าที่นำสืบและในด้านของการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน (weight of evidence) ความสำคัญที่นำมาใช้ในทางปฏิบัติจะหนักไปในทางวิเคราะห์น้ำหนักพยานหลักฐานว่าพยานหลักฐานจะมีน้ำหนักให้เชื่อข้อเท็จจริงไปทางไหนจะต้องนำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานการพิสูจน์ที่กฎหมายกำหนดไว้ในคดีประเภทนั้น แล้วจึงสามรรถวิเคราะห์ใช้ดุลยพินิจในการวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริง โดยให้น้ำหนักพยานหลักฐานในแต่ละคดีได้อย่างมีหลักเกณฑ์ ถ้าไม่มีมาตรฐานหลักฐานการพิสูจน์ การใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์ชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของเราก็จะกลายเป็นเรื่องของความรู้สึกโดยไม่มีหลักเกณฑ์ อนึ่ง หลักกฎหมายทั่วไปที่ถือปฏิบัติกันเป็นสากลว่า คู่ความฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์ประเด็นข้อใดแล้วไม่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามหน้าที่ของตน หรือนำพยานหลักฐานมาสืบไม่ได้ตามมาตรฐานการพิสูจน์ที่กฎหมายกำหนดถือว่าเป็นผู้แพ้ในประเด็นนั้น ซึ่งหลักกฎหมายทั่วไปข้อนี้ทำให้กฎเกณฑ์ในเรื่องภาระการพิสูจน์หรือในเรื่องหน้าที่นำสืบสำคัญมากที่สุด เพราะทำให้เกิดผลแพ้ชนะคดีกันโดยตรง
[1] สรุปจากวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2558 : เขียนบทความโดย จำรัส คงเอี่ยม)
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.nacc.go.th/download/sakdinan_khu/y81/ton1_4.pdf