Contrast
banner_default_3.jpg

การศึกษาความสอดคล้องระหว่างคำนิยามและองค์ประกอบของการทุจริตในมิติทางกฎหมายและพฤติกรรม

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 194

24/12/2566

การศึกษาความสอดคล้องระหว่างคำนิยามและองค์ประกอบของการทุจริตในมิติทางกฎหมายและพฤติกรรม

 

ติณณภพ  พัฒนะ
คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
เสกสัณ เครือคำ
คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
โสรัตน์ กลับวิลา
คณะสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

 

 

คำสำคัญ: นิยาม  องค์ประกอบ  พฤติกรรม  การทุจริต

 

 

 

 

PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
         การทุจริตมีความหมายที่ซับซ้อนและมีความไม่ชัดเจนทั้งในเชิงกฎหมายและเชิงพฤติกรรม ดังนั้นการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำนิยามและองค์ประกอบและความสอดคล้องระหว่างคำนิยามและองค์ประกอบของการทุจริตในมิติทางกฎหมายและพฤติกรรม โดยการวิจัยนี้ใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานโดยเริ่มจากการใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 32 คน และการประชุมผู้เชี่ยวชาญจำนวน 50 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบและดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการสำรวจกับกลุ่มประชากรไทยที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 83,637 คน ผลการศึกษาด้วยการวิเคราะห์ด้วยหลักการโมเดลสมการ ด้วยสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน เพื่อทดสอบสมมุติฐานทำให้สามารถสรุปความสอดคล้องในรูปของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างคำนิยามและองค์ประกอบของการทุจริตในมิติทางกฎหมายและพฤติกรรมได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝงเป็นในทิศทางบวก แสดงว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันที่ระดับ +0.877 ซึ่งมากกว่า +0.800 จึงแสดงให้เห็นว่าคำนิยามและองค์ประกอบของการทุจริตในมิติทางกฎหมายและพฤติกรรมมีความสอดคล้องในความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ซึ่งสามารถอภิปรายผลการศึกษาได้ว่ากฎหมายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของคนในสังคม และพฤติกรรมของคนในสังคมก็เป็นบ่อเกิดแห่งการบัญญัติกฎหมายเช่นเดียวกัน โดยบทบัญญัติของกฎหมายต่างล้วนอยู่บนพื้นฐานของพฤติกรรมสุจริตที่พึงประสงค์ตามบรรทัดฐานสังคม จึงสามารถนำไปใช้ในการออกแบบกรอบการศึกษาการประเมินสภาวการณ์ด้านพฤติกรรมความซื่อสัตย์สุจริต ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 21 ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

เอกสารอ้างอิง (References)

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2519). ผลของคอร์รัปชันที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการเมือง. [เอกสารโรเนียว].

ไชยันต์ สกุลศรีประเสริฐ. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 44(1), 1-16.

นวลน้อย ตรีรัตน์ และคณะ. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล: รายงานผลการวิจัย. สำนักงาน ปปช. และ The United States Agency for International Development.

         . (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล: รายงานการวิจัย. สถาบันพระปกเกล้า.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และคณะ. (2546). หวย ซ่อง บ่อน ยาบ้า เศรษฐกิจนอกกฎหมายกับนโยบายสาธารณะในประเทศไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผาสุก พงษ์ไพจิตร และนวลน้อย ตรีรัตน์. (2546). กรอบแนวคิดและบทบาทของเศรษฐกิจนอกระบบต่อเศรษฐกิจ. ใน การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องแนวคิดเศรษฐกิจนอกระบบกับการบริหารจัดการที่ดีของภาครัฐ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับบลิเคชั่น.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2544). นโยบายสาธารณะ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันพระปกเกล้า. (2543). คู่มือสําหรับสมาชิกรัฐสภาสําหรับปราบปรามทุจริต. ธรรกมการพิมพ์.

สมพร แสงชัย. (2528). การฉ้อราษฎร์บังหลวง: ทฤษฎีและความเป็นจริง. รัฐศาสตร์สาร, 6(2).

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2564). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560-2564). สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงาน ป.ป.ช.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2544). คอร์รัปชันในประเทศไทย: รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

อุดม รัฐอมฤต. (2544). การแก้ไขปัญหาการทุจริตในระบบการเมืองและวงราชการไทย: รายงานการวิจัย. สำนักวิชาการ สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Arbuckle, J. L. (2012). IBM SPSS Amos 21 Users Guide. IL IBM Software Group.

Barnard, A. (2011). The competencies of integrity. Journal of Psychology in Africa, 21(2), 267–273.

Barnard, A., Schurink, W., & De Beer, M. (2008). A Conceptual Framework of Integrity. SA Journal of Industrial Psychology, 34(2), 40–49.

Black's Law Dictionary: Definitions of the Terms and Phrases of American and English Jurisprudence, Ancient and Modern, 5th Edition by (1979-05-01)

Brown, S. E., Esbensen, F-A., & Geis, G. (2010). Criminology: Explaining Crime and Its Context. Anderson.

Funk & Wagnalls standard dictionary of the English language : international edition volume I. Funk & Wagnalls.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Pearson Prentice Hall.

Malcolm, J. (1988). Psychoanalysis: The impossible profession. Vintage.

Tanzi, V. (1994). "Corruption, Governmental Activities, and Markets", IMF Working Papers 1994/099, International Monetary Fund.

Rose-Ackerman, S. (1978). Corruption : A Study in Political Economy. Academic Press.

Related