Contrast
banner_default_3.jpg

บทบาทของพลเมืองกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 524

28/02/2567

บทบาทของพลเมืองกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

 

วรธา มงคลสืบสกุล

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

 

 

 

 

 

คำสำคัญ: การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน  การมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต  บทบาทของพลเมือง

 

 

 

PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอ 1) มาตรการทางสังคมที่ส่งเสริมพลเมืองในการต่อต้านการทุจริต 2) บทบาทของพลเมืองกับการสร้างการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตทั้งแบบอย่างที่ดีจากต่างประเทศและในประเทศไทย และ 3) การประยุกต์ใช้หลักการมีส่วนร่วมของพลเมืองและภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีมาตรการส่งเสริมให้พลเมืองมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และยังเป็นนโยบายหลักที่ให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริต สำหรับบทบาทของพลเมืองในต่างประเทศกับการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริตมีหลายรูปแบบ อาทิ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ การตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐและนักการเมือง การใช้กลไกป้องกันการทุจริตแบบล่างขึ้นบนที่มีภาคประชาชนเป็นส่วนสำคัญ สำหรับประเทศไทยพลเมืองมีบทบาทในการจัดการปัญหาดังกล่าว ในรูปแบบ การตั้งคำถามถึงสิ่งที่ถูกต้องของสังคม การเคลื่อนไหวเพื่อเปิดโปงการกระทำทุจริต การอาศัยกลไกของสื่อมวลชนเพื่อเป็นกระบอกเสียง สำหรับการประยุกต์ใช้หลักการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการต่อต้านการทุจริตสามารถกระทำได้โดย 1) การส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อแสดงบทบาท อาทิ การจัดตั้งชมรม มูลนิธิ สมาคม เครือข่าย เพื่อต่อต้านการทุจริต 2) การขยายบทบาทของพลเมืองในพื้นที่สาธารณะ 3) การส่งเสริมให้พลเมืองเข้ามามีบทบาทที่สำคัญบนเวทีระดับท้องถิ่น รวมถึงระดับประเทศ และ 4) การส่งเสริมความร่วมมือแบบพหุภาคีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

เอกสารอ้างอิง (References)

เกริกเกียรติ แก้วมณี และจักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. (2562). การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยให้ปลอดจากการทุจริต: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบด้านการป้องกันการทุจริต. วารสารการบริหารรัฐกิจและการเมือง 8(2), 113-134.

 

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). กลเม็ดเด็ดปีกคอร์รัปชัน. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

 

โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การจัดการปัญหาการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

 

คณพศ ภูวบริรักษ์. (2564, 23 กรกฎาคม). ถอดบทเรียนการต่อสู้กับการทุจริตแบบล่างขึ้นบนของประเทศญี่ปุ่น. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566 จาก https://researchcafe. tsri.or.th/corruption/

 

คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม, ถวัลย์รัฐ วรเทพพุฒิพงษ์, พิสิฐ ศุกรียพงศ์, พัชรี สิโรรส, ถวิลวดี บุรีกุล, โสภารัตน์ จารุสมบัติ, วิศิษฎ ชัชวาลทิพากร, ทวิติยา สินธุพงศ์, วิริยา จรศรี, กฤตติกา ยุวนะเตมีย์ และสิทธิศานติ์ ทรัพย์สิริโสภา. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540: ปัญหา อุปสรรค และทางออก. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

 

งามพรรณ เวชชาชีวะ. (2558). เปิดแฟ้ม 10 คดีทุจริตบทเรียนราคาแพงของคนไทย. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

 

ติรัส ตฤณเตชะ. (2561). อิทธิพลของดุลยภาพทางวัฒนธรรมปัจเจกนิยมและกลุ่มนิยมกับความสำเร็จในการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(2), 14-26.

 

ถวิลวดี บุรีกุล. (2559). การปฏิรูปประเทศไทยด้านการต่อต้านการทุจริตและการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

ของเยาวชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

 

ถวิลวดี บุรีกุล. (2563). การศึกษาพฤติกรรมความเป็นพลเมืองสำหรับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

 

ปธาน สุวรรณมงคล. (2559). คอร์รัปชัน: ปัญหาของสังคมไทยและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

 

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม . (2548). การเมืองภาคประชาชน. เอกสารประกอบคำบรรยายหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

 

มณี เหมทานนท์. (2557). การมีส่วนร่วมพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน. วารสารสารสนเทศ 13(2), 86-100.

 

รินทร์ลภัส วุฒิปรีชาสิทธิ์. (2562). แนวทางการพัฒนาธรรมาภิบาลในการปฏฺบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566 จาก https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5139

 

วันชัย ศรีนวลนัด. (2544). บทบาทของประชาสัมคมกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. (เอกสารส่วนบุคคล). สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 5.

 

วีระ สมความคิด, รัชนี แมนเมธี และพิศอำไพ คิดชอบ. (2552). การต่อต้านคอร์รัปชันของภาคประชาชนอย่างบูรณาการและยั่งยืนกับการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (ชุดโครงการวิจัยชุมชน). กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

 

วีรพันธ์ พรหมมนตรี. (2545). องค์กรพัฒนาเอกชนไทยกับการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. (เอกสาร

ส่วนบุคคล). สถาบันพระปกเกล้า รุ่นที่ 6.

 

สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์, อนันต์ เพชรใหม่, นนท์ น้าประทานสุข, นวลจันทร์ แจ้งจิตร และสว่าง มีแสง. (2561). โครงการวิจัยการพัฒนาความร่วมมือ และยกระดับการป้องกันการทุจริตในประเทศไทย ศึกษาประสบการณ์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

 

สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2549). ทฤษฎีคอร์รัปชัน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.

 

สิริลักษณา คอมันตร์ และคณะ. (2557). คอร์รัปชันและกลไกกำจัดกลโกง.  แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี, สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

 

สุริยานนท์ พลสิม. (2563). แนวคิดและทฤษฎีการศึกษานโยบายทางสังคม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน. (2566, 8 พฤษภาคม). ยุทธศาสตร์ 3 ป. องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย). สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566 จากhttp://www.anticorruption.in.th/2016/th/ourjob.Php #ourjob1_section

 

THAI PBS NEWS. (2561, 1 พฤษภาคม). เปิดโปงการทุจริตงบศูนย์คนไร้ที่พึ่ง. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566 จาก https://news.thaipbs.or.th/focus?section=Welfare

 

THE STANDARD. (2563, 23 มิถุนายน). หมู่อาร์มกับการเปิดโปงทุจริต และต้นทุนชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566 จาก https://thestandard.co/exposing-corruption/

 

Gerston, L. (2002). Public Policymaking in a Democratic Society: A Guide to Civic Engagement. Center for Civic Education.

 

Heater, D. (2004). Citizenship: The civil ideal in world history, Politics and education 3rd edition.  Manchester University Press.

 

Klitgard, R. (1988). Controlling Corruption. University of California Press.

 

Merriam-Webster. (2014). Dictionary and thesaurus. Springfield: Encyclopaedia Britannaca Company.

 

TRADING ECONOMICS. (2023, MAY 8). Denmark Corruption Rank.  Retrieved on 8 May 2023 from https://tradingeconomics.com/denmark/corruption-rank

 

Transparency International. (2023, MAY 8). CORRUPTION PERCEPTIONS INDEX. Retrieved on 8 May 2023 from from https://shorturl. asia/1ToAH

Related