Contrast
banner_default_3.jpg

การบริหารจัดการเวชภัณฑ์โควิด-19 ของประเทศไทย: ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 194

29/02/2567

การบริหารจัดการเวชภัณฑ์โควิด-19 ของประเทศไทย: ปัญหาและแนวทางแก้ไขในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

 

รัตพงษ์ สอนสุภาพ 
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

สิตานนท์ เจษฎาพิพัฒน์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

อิสรีย์ ภักดิ์ศรีแพง 
นักวิจัยอิสระ

 

คำสำคัญ: การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ  โควิด-19  วัคซีน ข้อมูลเปิด  รัฐบาลเปิด

 

PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเวชภัณฑ์กรณีโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 : ปัญหาอุปสรรคในการจัดซื้อของภาครัฐ ภาคเอกชน และแนวทางแก้ไข จากการศึกษาพบว่า 1) รัฐบาลกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงร่วมมือกับบริษัทชั้นนำทางการแพทย์ทั่วโลก ในการพัฒนาวัคซีนเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาด จากสถานการณ์และเงื่อนไขดังกล่าวเป็นปัจจัยเอื้อให้กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงสามารถเข้าถึงวัคซีนและเวชภัณฑ์ได้ก่อนกลุ่มประเทศยากจนและกำลังพัฒนา 2) กระบวนการจัดซื้อวัคซีน พบว่า สหรัฐอเมริกาใช้วิธีจองวัคซีนโดยให้เงินงบประมาณแก่บริษัท AstraZeneca และ Pfizer เพื่อทดลองวิจัยและพัฒนาวัคซีน ด้วยเงื่อนไข หากการทดลองไม่สำเร็จไม่ต้องคืนเงิน ประเทศที่มีรายได้สูงส่วนใหญ่จะดำเนินการคล้ายกับอเมริกา สิงคโปร์ไม่มีปัญหาจากกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้าง จึงสามารถทำสัญญาสั่งจองวัคซีนล่วงหน้าได้ ในปริมาณมากและรวดเร็ว โดยรัฐบาลดำเนินการเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อดังกล่าวต่อสาธารณะ 3) กระบวนการจัดซื้อวัคซีนและเวชภัณฑ์ของไทยถูกจำกัดการเข้าถึงจากพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ด้วยข้อกำหนดในเรื่องราคากลางและการแข่งขันหลายราย รัฐบาลได้แก้ปัญหาโดยตั้งคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐร่วมพิจารณา และได้ออกหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0405.2/ว 115 ลงวันที่ 27 มีนาคม 2563 เป็นแนวทางให้ส่วนราชการดำเนินการ อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างยังคงจำกัดการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ 4) เนื่องจาก COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ยังขาดองค์ความรู้เช่นเดียวกันทั่วโลก ปัญหาและอุปสรรคในการจัดหาวัคซีนและเวชภัณฑ์ของไทยเป็นผลมาจากพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ถูกออกแบบไว้เพื่อปฏิบัติในสถานการณ์ปกติ
           ข้อเสนอแนะ 1) รัฐบาลควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. 2560 ให้เกิดความคล่องตัว 2) ถอดบทเรียนจากโรคโควิด 19 เพื่อนำไปสู่การปรับตัวขององค์กรด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ในอนาคต 3) รัฐบาลควรให้ความสำคัญต่อสถาบันวัคซีนแห่งชาติในฐานะหน่วยงานวิจัยและพัฒนา 4) รัฐบาลควรแก้ปัญหาในภาวะวิกฤติเมื่อเกิดโรคอุบัติใหม่ที่ทางการแพทย์ยังขาดองค์ความรู้ ขาดวิธีป้องกันและรักษาได้ โดยยึดความปลอดภัยและผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง บนฐานคิด “ให้ความรู้ทางวิชาการนำการเมือง” และยกระดับความโปร่งใส ความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนผ่านแนวคิด Open data, Open Government   

เอกสารอ้างอิง (References)

Airfinity. (2020). ยอดจองวัคซีนประเทศต่าง ๆ ปี 2020. https://www.airfinity.com/reports/covid-19-vaccine-market-revenue-forecast-2022

 

Thailand Development Research Institute. (2021). บทวิเคราะห์ทางสาธารณสุข เศรษฐกิจและสังคม สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564 จาก  https://www.covidpolicywatch.com/recommendation/

 

Asian Development Bank (2020). The Economic Impact of the COVID-19: Outbreak on Developing Asia. Retrieved on 12 September 2021 from https://www.adb.org/publications/economic-impact-covid19-developing-asia

 

Boston, J. et al. (1996). Public Management: The New Zealand Model. Oxford University Press.

 

International Labor Organization (2020). COVID-19 and the world of work: Impact and policy responses. Retrieved on 12 September 2021 from https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/ ---dgreports/---dcomm/documents/briefingnote/wcms_738753.pdf18 March 2020.

 

Kohler, J.  and Wright, T. (2020). The Urgent Need for Transparent and Accountable Procurement of Medicine and Medical Supplies in Times of COVID-19 Pandemic. Journal of Pharmaceutical Policy and Practice 13 (1):58.

 

Mahasirimomgkol, S. (2020). A study to develop quarantine measures for healthcare workers Who have been exposed to COVID-19 patients. Health Intervention and Technology Assessment Program. Ministry of Public Health.

 

OECD (2021). CORONAVIRUS (COVID-19) VACCINES FOR DEVELOPING COUNTRIES: AN EQUAL SHOT AT RECOVERY. Retrieved on 10 September 2021 from https://www.oecd.org/coronavirus/policy-responses/coronavirus-covid-19-vaccines-for-developing-countries-an-equal-shot-  at-recovery-6b0771e6/

 

Pornprapun, C. (2020). Risk businesses and measures to take care under the impact of COVID-19. Retrieved on 20 August 2021 from https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_30Apr2020.pdf

 

Savedoff, W. & Grépin, K.A. (2012). “Health Sector Corruption in Ethiopia.”Chapter 2 in Janelle Plummer, ed. Diagnosing Corruption in Ethiopia: Perceptions, Realities, and the Way Forward for Key Sectors. Washington, DC: World Bank.

 

Sciacchitano, S. and Bartolazzi, A. (2021). Transparency in Negotiation of European Union with Big Pharma on COVID-19 Vaccines. Retrieved on 17 September 2021 from (PDF) Transparency in Negotiation of European Union with Big Pharma on COVID-19 Vaccines (researchgate.net) https://europepmc.org/article/MED/33681138

 

Scott L. Greer, Elizabeth J. King, Elize Massard da Fonseca and André Peralta-Santos (2021). Coronavirus Politics: The Comparative Politics and Policy of COVID-19. Michigan Publishing University of Michigan Library. University of Michigan.

 

The Office of the Council of State. PUBLIC PROCUREMENT AND SUPPLIES ADMINISTRATION ACT, B.E.2560 (2017). Published in Government Gazette, Vol. 134, Part 24a, Page 13, dated 24th February 2017.

 

World Health Organization. Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard. Retrieved on 21 January 2021 from https://covid19.who.int/

 

Related