Contrast
banner_default_3.jpg

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ: อำนาจที่สี่ของการปกครองประเทศไทย

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 112

17/12/2563

องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ: อำนาจที่สี่ของการปกครองประเทศไทย[1]

               ความไม่สมบูรณ์ในกลไกการทำงานขององค์อำนาจสามส่วนของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย ส่งผลให้อำนาจนิติบัญญัติไม่สามารถทำงานได้ บ่อยครั้งเกิดจากสมาชิกสภาผู้แทนไม่เข้าประชุมจนทำให้องค์ประชุมไม่ครบ และผู้แทนราษฎรหลายคนชอบเข้าไปแทรกแซงหรือทำหน้าที่เหมือนฝ่ายบริหาร ส่วนอำนาจบริหาร โดยปกติมีอิทธิพลครอบงำการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติอยู่เกือบตลอดเวลา และอำนาจตุลาการมักจะเชื่องช้าในการทำงานและการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศ ดังนั้น รัฐธรรมนูญของประเทศไทย ฉบับปี พ.ศ. 2540 และปี 2550 จึงได้พยายามแก้ไขความไม่สมบูรณ์นี้โดยการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เพื่อช่วยในการทำงานของกลไกขององค์อำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของไทย

               โดยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญดังกล่าว ประกอบด้วย 1) สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง 2) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน 3) สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน และ 4) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เมื่อการวิเคราะห์ถึงบทบาทของคณะกรรมการเลือกตั้งในการจัดการการเลือกตั้งในระบบต่าง ๆ บทบาทของสำนักงานการตรวจเงินแผ่น ในการตรวจสอบความถูกต้องของการใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน บทบาทของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในการตรวจสอบคำร้องเรียนเกี่ยวกับจริยธรรมและการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และบทบาทของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ของบุคคลากรในองค์อำนาจทั้งสาม การที่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้งสี่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะถ่วงดุล หรือคานอำนาจขององค์อำนาจหลักทั้งสาม จึงทำให้มองได้ว่า องค์กรอิสระทั้งสี่เป็นเสมือนองค์อำนาจที่สี่ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยของไทย

 

 

[1] สรุปจากวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2555 : เขียนบทความโดย เมธี ครองแก้ว)

   สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.nacc.go.th/download/sakdinan_khu/y5/tex1_2.pdf

Related