จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 557
ธรรมาภิบาล หรือ Good-Governanceคือการปกครองการบริหารการจัดการ หรือการควบคุม ดูแลกิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม โดย “ธรรม” ที่ใช้ในการปกครองและ/หรือบริหารงาน มีความหมายอย่างกว้างรวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ที่เป็นเหตุ เป็นผลและพึงประพฤติปฏิบัติอาทิความซื่อสัตย์สุจริต ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจาก การแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
การบริหารจัดการองค์กรโดยยึดหลักธรรม หรือธรรมาภิบาลดังกล่าวข้างต้นนั้น ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและยึดประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง แท้จริงแล้วก็คือ การเจริญรอยตามพระปฐมบรมราชโองการ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานไว้ตั้งแต่ปี 2493 คือ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ฉะนั้น ภารกิจของสำนักงาน ป.ป.ช. จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าเพราะเป็นการเสริมสร้างการบริหารงานของภาครัฐ ให้เป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุขของคนส่วนใหญ่ในประเทศ
ในขณะเดียวกัน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้พสกนิกรน้อมนำมาเป็นหลักยึดหรือแนวทางการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล ชุมชน และ หน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ เพื่อให้ดำเนินชีวิตและภารกิจตามบทบาทหน้าที่ของตนให้สำเร็จลุล่วงไปได้ ด้วยดีพร้อม ๆ กับสามารถรักษาส่วนรวมและประเทศชาติไปในคราวเดียวกัน ทั้งนี้เพราะโครงสร้าง ของส ่วนรวมเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยเอื้อให้แต่ละคนสามารถดำเนินชีวิตของตน ให้เกิด ทั้งประโยชน์และความสุขได้อย่างเต็มศักยภาพ หากโครงสร้างของส่วนรวมอยู่ได้ส่วนตนก็จะสามารถ อยู่ได้ด้วย แต่ถ้าโครงสร้างส่วนรวมเสียหายหรืออ่อนแอ ก็จะส่งผลกระทบต่อคนในชาติในที่สุด
บทความนี้จะได้อธิบายถึงความหมายของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การนำหลักปรัชญาฯ มาใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลการพัฒนาคนให้มีจิตสำนึกพอเพียง ตามหลักปรัชญาฯ และสรุปให้เห็นถึงความสำคัญของการปลูกฝังจิตสำนึกพอเพียงในคนไทยทุกรุ่น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ช. ที่มีความสำคัญยิ่งตามเป้าหมายที่ก่อตั้งขึ้น ให้มั่นคง และเข้มแข็ง ในการรักษาส่วนรวม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต