Contrast
banner_default_3.jpg

ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 407

16/12/2563

ปัจจัยที่กำหนดการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล[1]

ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กลุ่มอิทธิพลทางการเมือง ผลประโยชน์ร่วม การอุปถัมภ์ และพวกพ้อง

          โดย การอุปถัมภ์ (เช่น การช่วยเหลือการเงิน การให้ผลประโยชน์ตอบแทน และการให้การบริการ) มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ส่วนผลประโยชน์ร่วม (เช่น การมีส่วนได้เสีย การเป็นหัวคะแนน และการตอบแทนเพื่อสาธารณะ)
มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับพวกพ้อง (เช่น การเคยทำงานร่วมกัน การช่วยเหลือผ่านผู้สมัคร และการช่วยเหลือผ่านญาติ) เนื่องจากความเข้มข้นของความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอของหัวคะแนนและมักถูกแทรกแซงด้วยเงิน ทำให้ระดับความสัมพันธ์แบบพวกพ้องลดน้อยลง สำหรับพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อกันสูงสุด ได้แก่ การยอมรับนับถือกับกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง การเป็นหัวคะแนนกับผลประโยชน์ร่วม การให้บริการกับการอุปถัมภ์ การเคยทำงานร่วมกันกับความเป็นพวกพ้อง และตัวผู้สมัครมีผลต่อการตัดสินใจไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมากที่สุด ทั้งนี้ พบว่าความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง การมีผลประโยชน์ร่วม การอุปถัมภ์และพวกพ้อง มักจะมีการใช้เงินเป็นตัวการในการแลกเปลี่ยน 

 

[1] สรุปจากวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ( กรกฎาคม 2556 : เขียนบทความโดย ประภัสสร ปรีเอี่ยม สุวรรณี จริยะพร

   ไมตรี จันทร์ดาประดิษฐ์ และ สมเกียรติ คูหาเกษมสิน) สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่

    https://www.nacc.go.th/download/sakdinan_khu/y6/ton2_2.pdf

Related