จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 437
รูปแบบ และความเสี่ยงต่อการทุจริต: กรณีศึกษาองค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะ[1]
“องค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะ” จัดตั้งขึ้นโดยรัฐเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งหรือที่ก่อตั้งโดยคณะบุคคล
เพื่อสาธารณประโยชน์ และได้รับงบประมาณ และ/หรือได้รับการสนับสนุนในรูปแบบอื่นจากองค์กรของรัฐ แต่ไม่มีฐานะเป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ โดยที่รายได้ขององค์กรไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน จึงมีการบริหารจัดการและการดำเนินงานแบบเอกชนทั้งหมดหรือบางส่วน ไม่อยู่ภายใต้ระเบียบของทางราชการโดยตรง หรือมีลักษณะและรูปแบบผสมผสานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งองค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) องค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ได้แก่ กองทุนที่กฎหมายจัดตั้งกำหนดให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล และองค์กรพัฒนาเอกชนที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่รับงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ หรือที่เรียกว่า “องค์กรพัฒนาเอกชนภาครัฐ” และ 2) องค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะในรูปของกองทุนที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
ลักษณะ รูปแบบ และความเสี่ยงต่อการทุจริตในองค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะกรณีศึกษา (กองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.), กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มูลนิธิพลังชุมชนไทย (มภท.) กองทุนผู้สูงอายุ และ กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน (กปถ.))
โดยแต่ละองค์กรจะมีลักษณะ รูปแบบ และความเสี่ยงต่อการทุจริตแตกต่างกัน ซึ่งปัญหาที่พบเหมือนกันทุกองค์กร คือ การใช้ดุลพินิจซึ่งกฎหมายเปิดช่องให้คณะกรรมการบริหารกองทุน หรือผู้บริหาร หรือผู้จัดการกองทุน นำเงินกองทุนไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ องค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารส่วนใหญ่มาจากภาครัฐ ขาดผู้แทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือภาคประชาสังคมในสัดส่วนที่เหมาะสม ทำให้ขาดระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลตามหลักธรรมาภิบาล แต่องค์กรเอกชนกึ่งสาธารณะในรูปแบบของกองทุนอยู่ภายใต้กฎระเบียบของทางราชการที่รัดกุมมากกว่าองค์กรพัฒนาเอกชนภาครัฐ (มูลนิธิ หรือสมาคม) ซึ่งยังไม่มีกฎหรือระเบียบในการดำเนินการที่ชัดเจน แม้จะมีการนำระเบียบของทางราชการมาบังคับใช้โดยอนุโลม ทั้งนี้ กฎ ระเบียบ หรือมาตรการที่ออกมากำกับการดำเนินงานเหล่านี้จะต้องไม่สร้างภาระถึงกับทำให้องค์กรขาดความคล่องตัว โดยอาจพิจารณาระดับความเข้มของการกำกับดูแล และตรวจสอบ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการทุจริต
สำหรับความเสี่ยงต่อการทุจริตและ/หรือการทุจริตที่เกิดขึ้นในแต่ละองค์กร โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุจากระดับของการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการหรือผู้บริหารซึ่งมีความสอดคล้องกับลักษณะ รูปแบบ และความเสี่ยงต่อการทุจริต โดย กยศ. มีการกระจายอำนาจให้ผู้บริหารสถานศึกษามีอำนาจในการใช้ดุลพินิจมาก แต่ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจยังค่อนข้างน้อย ทำให้มีความเสี่ยงต่อการทุจริตค่อนข้างสูง และ กปถ. ยังมีเงินหมุนเวียนจำนวนมาก ภายใต้การบริหารจัดการของส่วนราชการ ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียค่อนข้างน้อยมาก ทำให้มีโอกาสที่จะมีการนำเงินกองทุนไปใช้เพื่อประโยชน์อื่น นอกเหนือจากการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
จากการศึกษาองค์กรกรณีศึกษา พบว่า
[1] สรุปจากวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ( กรกฎาคม 2556 : เขียนบทความโดย พรรณราย ขันธกิจI วัชรา ไชยสารII ทศพนธ์ นรทัศน)
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.nacc.go.th/download/sakdinan_khu/y6/ton2_4.pdf