Contrast
banner_default_3.jpg

การจัดการปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันโครงการก่อสร้างของภาครัฐในขั้นตอนการบริหารสัญญา

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 369

28/05/2567

การจัดการปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันโครงการก่อสร้างของภาครัฐในขั้นตอนการบริหารสัญญา

 

โชคชัย เนตรงามสว่าง
สำนักงานอัยการสูงสุด

กัมพล กิตติพงษ์พัฒนา
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

อุกฤษฏ์ ศรพรหม
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย

 

คำสำคัญ: ทุจริตคอร์รัปชัน  ข้อสัญญาป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน  การบริหารสัญญา

 

 

PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
        การทุจริตคอร์รัปชันเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โครงการ ก่อสร้างภาครัฐเป็นจุดหนึ่งที่พบการทุจริตคอร์รัปชันเนื่องจากงบประมาณจำนวนมากและการดำเนินการที่ซับซ้อน โดยการทุจริตคอร์รัปชันอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างหรือกระบวนการบริหารสัญญา ซึ่งประเทศไทย มีแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันผ่านกลไกที่หลากหลาย เช่น การดำเนินการกับผู้ทุจริตคอร์รัปชัน มาตรการป้องกันและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการกำหนดผลของการทุจริตคอร์รัปชันในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างก่อนทำสัญญา รวมถึงแนวคิดในการจัดการกับการทุจริตคอร์รัปชันนอกจากที่มีอยู่ในกฎหมายปัจจุบัน นอกจากการทุจริตคอร์รัปชันจะเกิดขึ้นในกระบวนการก่อนการทำสัญญาแล้ว ในขั้นตอนการบริหารสัญญาเอง ก็สามารถเกิดการทุจริตคอร์รัปชันได้เช่นเดียวกัน ซึ่งข้อสัญญาและผลของการทุจริตคอร์รัปชันในส่วนนี้ไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจนเพียงพอที่จะจัดการกับการทุจริตคอร์รัปชันในขั้นตอนการปฏิบัติตามสัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อพิจารณาจากสัญญามาตรฐานของต่างประเทศแล้วพบว่ามีการกำหนดข้อสัญญาที่ชัดเจนและรัดกุมเพื่อวัตถุประสงค์ ในการจัดการปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ดังนั้น นอกจากการกำหนดกลไกการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันดังที่ กล่าวมาแล้ว ยังควรกำหนดข้อสัญญาและผลของการทุจริตคอร์รัปชันในกระบวนการบริหารสัญญาไว้ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตามสัญญาและเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันด้วยนั่นเอง

เอกสารอ้างอิง (References)

คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต. (2564, 11 มิถุนายน). แนวทางการดำเนินการกรณีหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก http://www.stopcorruption.moph.go.th/application/
editors/userfiles/files/กค%200419_2-ว %20344%20(11-6-64).pdf.

 

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ และคณะ. (2562). โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) : กรุงเทพ.

 

ปณิธัศร์ ปทุมวัฒน์. (2553). ชุด “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 : United Nations Convention against Corruption 2003” ตอนที่ 1 บทบัญญัติทั่วไปและพันธกรณีในการกำหนดมาตรการ ป้องกันการทุจริตของภาคี. ใน หน้าต่างโลก The Knowledge Windows, จุลนิติ. 7(6), หน้า 187-198. สืบค้นจาก https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub _Jun/13win/win18%20jul_7_6.pdf

 

ประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง แนวทางและวิธีการในการดำเนินงานโครงการความร่วมมือป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ แบบของข้อตกลงคุณธรรม การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ และการจัดทำรายงานตามมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (2561, 8 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 190 ง. หน้า 26-33.

 

ประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (2561, 8 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 190 ง. หน้า 34-37.

 

ประกาศคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เรื่อง แบบสัญญาเกี่ยวกับการจัดซื้อ
จัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (2561, 19 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 37 ง. หน้า 8-9.

 

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (2560, 24 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 24 ก. หน้า 13-54.

 

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561. (2561, 21 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 52 ก. หน้า 1-80.

 

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิด เกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม พ.ศ. ...., สืบค้นจาก http://web.krisdika.go.th/comment_x_01.jsp?head=5&item=1&billCode=30.

 

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ, กระทรวงอุตสาหกรรม. (2562). คู่มือ ป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับประโยชน์ส่วนรวม (Conflict of Interest). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

 

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560. (2560, 23 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 210 ง. หน้า 1-71.

 

govspending, (2565, 31 พฤษภาคม). ภาพรวมสถิติ ปีงบประมาณ 2564. สืบค้นจาก https://govspending. data.go.th/dashboard/1

 

Taned Mahattanalai. (2564, 8 กุมภาพันธ์). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. ใน “ก่อสร้างและวัตถุก่อสร้าง.” ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จากัด (มหาชน). สืบค้นจาก https://www.Krungsri.com /th/research/industry/industry-outlook/Construction-Construction-Materials/Construction-Contractors/IO/io-Construction-Contractors-21

 


ภาษาอังกฤษ

FIDIC. (2017). FIDIC Conditions of Contract for CONSTRUCTION FOR BUILDING AND ENGINEERING WORKSDESIGNED BY THE EMPLOYER. (Second Edition). Geneva: FIDIC.

 

ICE. (2017). THE NEC4 ENGINEERING AND CONSTRUCTION CONTRACT (Fourth Edition). Thomas Telford Ltd.: London. (มาจากการอ้างอิงข้อสัญญา THE NEC4 ENGINEERING AND CONSTRUCTION CONTRACT, 2017.)

 

Ross Hayes and Gayle Monk. (2018, January 25). Using the NEC forms of contract for works and services. Retrieved from https://www.anthonycollins.com/insights/ebriefings/using-the-nec- forms-of-contract-for-works-and-services/.

 

UNODC (United Nations Office on Drugs and Crime), (2019, December). Consequences of private sector corruption. Retrieved from https://www.unodc.org/e4j/zh/anti-corruption/module-5/key-issues/consequences-of-private-sector-corruption.html

 

UNODC (United Nations Office on Drugs and Crime), (2013). Good practices in ensuring compliance with article 9 of the United Nations Convention against Corruption, Retrieved from https://www.unodc.org/documents/corruption/Publications/2013/Guidebook_on_anti-corruption_in_public_procurement_and_the_management_of_public_finances.pdf

Related