Contrast
banner_default_3.jpg

การประเมินกระบวนการและผลการปฏิบัติงานตามภารกิจ ด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช.

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 337

29/05/2567

การประเมินกระบวนการและผลการปฏิบัติงานตามภารกิจ ด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช.

 

สยาม ธีระบุตร
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาต

 

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ: การประเมินกระบวนการและผลการปฏิบัติงาน  การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน

 


PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
           การศึกษาวิจัยเรื่อง “โครงการประเมินกระบวนการและผลการปฏิบัติงานตามภารกิจด้านการตรวจสอบ ทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช.” มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช. 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลของผลการดำเนินงานตามภารกิจด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช. ตามขั้นตอนและระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ในการดำเนินงานตามภารกิจด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช. และ 4) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยศึกษาวิจัย แบบผสมวิธี (Mixed methods Research) ผลการวิจัยพบว่า      
           ขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช. พบว่า ขั้นตอนในการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินส่วนใหญ่มีความเหมาะสม ส่วนระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ ในการตรวจสอบทั้ง 3 ประเภท จะมีระยะเวลาดำเนินการมากกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ การประเมินประสิทธิภาพ กระบวนการและผลการดำเนินการตามภารกิจด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นการประเมินโดยการเปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานที่นำมาวิเคราะห์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีหน่วยงานแถวหน้า (มีประสิทธิภาพมากที่สุด) จำนวน 15 หน่วยงาน และปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีหน่วยงานแถวหน้า จำนวน 11 หน่วยงาน เมื่อพิจารณาหน่วยงานที่มีระดับประสิทธิภาพระดับมากและระดับปานกลาง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีหน่วยงานจำนวน 1 หน่วยงาน (ร้อยละ 1.2) และ 56 หน่วยงาน (ร้อยละ 65.1) มีประสิทธิภาพระดับมาก และระดับปานกลางตามลำดับ ในขณะที่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีหน่วยงานจำนวน 47 หน่วยงาน (ร้อยละ 55.3) และ 21 หน่วยงาน (ร้อยละ 24.7) มีประสิทธิภาพระดับมากและระดับปานกลางตามลำดับ ในขณะที่หน่วยงาน ที่มีระดับประสิทธิภาพระดับน้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีจำนวน 14 หน่วยงาน (ร้อยละ 16.3) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ลดลงเหลือเพียง 6 หน่วยงาน (ร้อยละ 7.1) แสดงถึงหน่วยงาน ป.ป.ช. ในภาพรวมมีการพัฒนา การดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น การประเมินประสิทธิผลของผลการดำเนินการตามภารกิจด้าน การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในภาพรวม อยู่ในระดับ มีประสิทธิผลมาก และผลการประเมินในมิติประสิทธิผลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับ มีประสิทธิผลน้อย
            ปัญหา อุปสรรคของการดำเนินการตามภารกิจด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของสำนักงาน ป.ป.ช. ประเด็นที่สำคัญ ๆ ได้แก่ กรอบระยะเวลาตามกฎหมายในการดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ไม่สอดคล้องกับระยะเวลาเฉลี่ยในการปฏิบัติงานจริง ปัจจัยภายนอกทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน เช่น การรอข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก เป็นต้น การบริหารจัดการภายในสำนักงาน ป.ป.ช. เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ไม่สามารถปฏิบัติงานตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินที่เป็นงานหลักได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีภาระงานอื่นเพิ่ม
            ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการตามภารกิจด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของ สำนักงาน ป.ป.ช. ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การลดขั้นตอนการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินให้กระชับ ลดขั้นตอนการทำงาน ที่ซ้ำซ้อน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ความสามารถที่หลากหลายและนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ การลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน
            ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของ สำนักงาน ป.ป.ช. ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การพัฒนาระบบในการประสานงานให้หน่วยงานภายนอกสามารถส่งข้อมูลได้ อย่างรวดเร็ว การแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมและมีความชัดเจน การจัดทำกรณีศึกษา จากการปฏิบัติงาน จริงเผยแพร่เป็นองค์ความรู้ในระบบออนไลน์ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยการทำงาน ลดขั้นตอนการรายงานผลการตรวจสอบที่ซ้ำซ้อน

เอกสารอ้างอิง (References)

 

กิติยา ฐิติคุณรัตน์. (2556). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ซันไชน์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. [ภาคนิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี]. สืบค้นจาก http://www.etheses.rbru.ac.th/pdfuploads/allfile-96-file01-2017-01-30-10-26-56.pdf

 

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). เฮ้า ออฟ เคอร์ มิสท์.

 

นิ่มนวน ทองแสน. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจผลิตเครื่องสำอางในเขตจังหวัดปทุมธานี. [รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. สืบค้นจาก http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/bitstream/123456789/2625/1/RMUTT147691.pdf

 

วรวิทย์ สุขบุญ. (2558). นิติเศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินของ ป.ป.ช. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

 

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2562). แผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. นนทบุรี.


           
. (2563). แผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. นนทบุรี.


สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2562). รายงานผลการติดตามการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 และตัวชี้วัดระดับองค์กรและระดับสำนักของ สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในเขตพื้นที่ ภาค 1-9. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


           
. (2563). รายงานผลการติดตามการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติการและแผนการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของสำนักงาน ป.ป.ช. ภาค และสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในเขตพื้นที่ภาค 1-9. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


           
. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


สำนักพัฒนาระบบตรวจสอบทรัพย์สิน. (2562). กฎหมาย ระเบียบและประกาศ ที่เกี่ยวข้องกับการยื่นและการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


            
. (2562). คู่มือการจัดทำหนังสือขอข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

           
. (2562). แนวทางการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน. นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

Related