Contrast
banner_default_3.jpg

การรับสินบนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 534

28/06/2567

  การรับสินบนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



  ศิรินันท์  วัฒนศิริธรรม
  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

 

 



  คำสำคัญ: สินบน  รูปแบบและลักษณะการกระทำความผิด  ปัจจัย

 

 

  PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องการศึกษารูปแบบและลักษณะการกระทำความผิดเกี่ยวกับการรับสินบนที่เกิดขึ้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิเคราะห์ปัจจัยและกระบวนการที่ทำให้เกิดการรับสินบนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเสนอข้อเสนอแนะหรือแนวทางแก้ไขปัญหาการรับสินบนของเจ้าหน้าที่ของรัฐในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งผลการศึกษาที่สำคัญพบว่า การรับสินบนที่เกิดขึ้นในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกิดจากปัจจัยเดียวกัน คือ ปัจจัยภายในที่มาจากตัวบุคคล และปัจจัยภายนอก ซึ่งทุกปัจจัยส่งผลให้เกิดการรับสินบนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งสิ้น แต่ในแต่ละปัจจัยอาจส่งผลให้เกิดการรับสินบนมากน้อยต่างกัน กล่าวคือ ปัจจัยที่ส่งผลมาก อันดับหนึ่งคือด้านความซื่อสัตย์สุจริต อันดับสองมีคะแนนเท่ากันคือ ด้านการเมือและด้านตำแหน่งหน้าที่ที่เอื้อ รองลงมาคือด้านผลตอบแทนที่ได้รับ ด้านโอกาส ด้านการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพ และด้านกฎหมาย ตามลำดับ งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการรับสินบนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การปลุกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้กับผู้บริหารท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้าง ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อลดการติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับประชาชน/ผู้ประกอบการให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่รับสินบนด้วยความรวดเร็ว เพื่อเป็นแบบอย่างให้เกิดความเกรงกลัว เป็นต้น 

เอกสารอ้างอิง (References)


ชวลิต วงศ์ใหญ่. (2558). การกำหนดความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการให้และรับสินบนเจ้าพนักงานของรัฐต่างประเทศ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.


ผู้จัดการออนไลน์. (2565, 26 เมษายน). บุกจับนายก อบต.คลองกิ่ว พร้อมรองฯ เรียกรับสินบน 1 แสนบาทจากผู้ประกอบการใน จ.ชลบุรี. https://mgronline.com/local/detail/9650000039678?fbclid=IwAR3sYVNfW_x_89q-dijk2bg7scndrm73jaGKcLPudpMMB5KroBAPlGN_aF8


พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561. (2561, 21กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 52 ก, หน้า 1-80.


สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (ม.ป.ป.). ปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. https://www.pacc.go.th/info_pacc/wpcontent/uploads/2018/08/08_b.pdf


สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2557). สถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย. อรุณการพิมพ์.


สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.). ระบบการจัดการการต่อต้านการติดสินบนมาตรฐาน ISO37001: 2016. https://pr.tisi.go.th/ebook37001/ebookiso37001.html


องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย). (2560). รูปแบบการเรียกรับสินบน. http://www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/592/รูปแบบการเรียกรับสินบน


Gorsira, M., Huisman, W., Denkers, A., & Steg, L. (2021). Why Dutch officials take bribes: a toxic mix of factors. Crime Law Soc Change, 75: 45–49.


United Nation. (2018). United against corruption for development, peace and security. https://www.un.org/en/observances/anti-corruption-day

Related