Contrast
banner_default_3.jpg

รูปแบบการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาค 4

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 392

28/06/2567

  รูปแบบการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาค 4



  เสาวณีย์ ทิพอุต
  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

 

 

 

 

  คำสำคัญ: การทุจริต  รูปแบบการทุจริต  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

 

  PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
         บทความวิจัยนี้เป็นการนำเสนอรูปแบบการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาค 4 ที่ได้ทำการศึกษาทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกร้องเรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2565 มีการทุจริตใน 7 รูปแบบ 40 วิธีการ โดยมีการทุจริตจัดซื้อจัดจ้างมากที่สุด รองลงมาเป็นการทุจริตในการบริหารงานบุคคล การทุจริตเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน การนำฝาก การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของราชการ การทุจริตการจัดทำงบประมาณ/โครงการ การทุจริตการจัดเก็บภาษีหรือการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่น การทุจริตในการออกใบอนุญาตต่าง ๆ และการทุจริตการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับที่ดินสาธารณประโยชน์ โดยสาเหตุที่เอื้อต่อการเกิดการทุจริตมาจาก 9 สาเหตุหลัก ได้แก่ ปัญหาตัวบุคคล สังคม วัฒนธรรม การเมือง (ที่มาของการเลือกตั้งที่ไม่โปร่งใส) ระบบการบริหารงาน กลไกการตรวจสอบ การบังคับใช้กฎหมาย การมีอิทธิพลในพื้นที่ และระบบอุปถัมภ์ โดยปัญหาด้านการได้มาซึ่งผู้บริหารฝ่ายการเมืองเป็นปัจจัยหลักที่เอื้อต่อการเกิดการทุจริต ดังนั้น ควรมีการกำหนดนโยบายโดยมุ่งเน้นให้ผู้บริหารท้องถิ่นต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ถือระบบพวกพ้อง ไม่สั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่ปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชาเมื่อกระทำผิด

เอกสารอ้างอิง (References)


เกรียงไกร ปัญญาพงศธร. (2561). การคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย: ศึกษากรณี เทศบาลนคร. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 5(1), 423-440.


โกวิทย์ พวงงาม. (2549). การทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: มาตรการและกลไกการป้องกัน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 5(3), 107-127.


พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499. (2499, 13 พฤศจิกายน). สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. หน้า 45.  


พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. (2542, 18 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 116 ตอนที่ 1. หน้า 11.  


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่ 40ก,หน้า 20.


ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยการตรวจสอบและไต่สวน พ.ศ. 2561. (2561,20 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนพิเศษ 61 ก. หน้า 5.


ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561. (2561,18 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 323 ง. หน้า 2 – 9.


ศิรินันท์ วัฒนศิริธรรม, สยาม ธีระบุตร และศักรินทร์ นิลรัตน์. (2561). รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริแห่งชาติ.


สมคิด เลิศไพฑูรย์, ศิรินทร์รัตน์ กาญจนกุญชร, วิไลลักษณ์ อยู่สำราญ, นิรมัย พิศแข และอัจจิมา ฉัตรแก้ว. (2555)การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริแห่งชาติ.


Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row.

Related