Contrast
banner_default_3.jpg

การทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 24

24/12/2567

  การทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง
  และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

 

  ศักรินทร์  นิลรัตน์
  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

 

 

 

 

  คำสำคัญ: การทุจริต  การจัดซื้อจัดจ้าง  การบริหารพัสดุ

 

 

  PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
        โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษากระบวนการและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อศึกษาลักษณะของการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างและปัจจัยที่เอื้อให้เกิดการทุจริตตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 3) เพื่อเสนอข้อเสนอแนะหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้าง โดยเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย กฎหมาย ระเบียบ แนวปฏิบัติ และประกาศต่าง ๆ การสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างได้แบ่งออกเป็น ก่อนการจัดซื้อจัดจ้าง ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง และหลังการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งพบการทุจริตอยู่ทั้ง 3 กระบวนการ มีลักษณะการทุจริตที่แตกต่างกันไป ข้อเสนอแนะหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างที่ได้จากการศึกษาวิจัยนี้เป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย โดยควรดำเนินการให้มีการกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของเกณฑ์เพิ่มเติม เพื่อไม่ให้เกิดการตีความแล้วนำไปใช้เอื้อประโยชน์ให้กับตนเองหรือพวกพ้อง การใช้ฐานข้อมูลที่ได้จากการจัดซื้อจัดจ้างให้เกิดประโยชน์ในการตรวจสอบ ควบคุม การลดหรือการจำกัดอำนาจในการใช้ดุลยพินิจการเพิ่มความโปร่งใสด้วยการเปิดเผยข้อมูลในขั้นตอนที่ประชาชนยังไม่สามารถรับรู้ได้ รวมถึงการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าวก็จะเป็นส่วนสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่า ส่วนใดเป็นความเสี่ยงที่หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบหรือประชาชนควรเพ่งเล็งหรือเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

เอกสารอ้างอิง (References)

กรมบัญชีกลาง. (2566, 7 เมษายน). ภาพรวมการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ. จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ. https://www.youtube.com/watch?v=4Q7AaHYpDOM


เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). กลเม็ดเด็ดปีกคอร์รัปชัน. ชัคเซสมีเดีย.


เดือนเด่น นิคมบริรักษ์, วีรวัลย์ ไพบูลย์จิตต์อารี, ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ, ภวินทร์ เตวียนันท์, อุไรรัตน์ จันทรศิริ, ศศิ สุมา, … และ ศิราภรณ์ ธูปเทียน. (2562). รายงานการวิจัย โครงการศึกษาฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.


ธราพงศ์  ลิ้มสุทธิวันภูมิ และ ตวงทอง  สินชัย. (2563). การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 311-323. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/download/243255/166265/846674


ปัณณ์ อนันอภิบุตร, สุทธิ สุนทรานุรักษ์, และ วิธีร์ พานิชวงศ์. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การปฏิรูประบบงบประมาณของไทยเพื่อต่อต้านการทุจริต. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


รัฐพงศ์ โภคะสุวรรณ. (2550). ปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างของส่วนราชการในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU Digital collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:111731


ศิรินันท์ วัฒนศิริธรรม, สยาม ธีระบุตร และ ศักรินทร์ นิลรัตน์. (2561). รายงานการวิจัย โครงการวิจัยเรื่อง รูปแบบการทุจริตและปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2549). ทฤษฎีคอร์รัปชัน. สำนักพิมพ์ร่วมด้วยช่วยกัน.


          
. (18-19 กันยายน 2561). ผลการศึกษารูปแบบการทุจริต. ใน กิตติ  ลิ้มชัยกิจ (ประธาน), ผลการศึกษารูปแบบการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 [Symposium]. สัมมนาทางวิชาการเพื่อนำเสนอผลการศึกษารูปแบบการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561, โรงแรมเบสท์ เวสเทิร์น พลัส แวนดา แกรนด์.


อุดม รัฐอมฤต. (2544). การแก้ไขปัญหาการทุจริตในระบบการเมืองและวงราชการไทย. สำนักงานเลขาธิการสภา  ผู้แทนราษฎร.

Related