การจ่ายสินบนให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐของบรรษัทข้ามชาติ
และนักลงทุนที่ประกอบธุรกิจและลงทุนในประเทศไทย
ฉันท์ชนก เจนณรงค์
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
คำสำคัญ: สินบน เจ้าหน้าที่รัฐ บรรษัทข้ามชาติ ธุรกิจ การลงทุน
PDF ดาวน์โหลด
บทคัดย่อ การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และการรับรู้การเรียกรับและการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐของบรรษัทข้ามชาติและนักลงทุนชาวไทยที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย อันจะนำมาซึ่งแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเรียกรับและการให้สินบนเจ้าหน้าที่รัฐของบรรษัท โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการลงทุนและประกอบธุรกิจที่มีการติดสินบนสูงสุด คือ การประมูลงานภาครัฐ โดยภาคธุรกิจก่อสร้างมีการติดสินบนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ประกอบการภาคธุรกิจเอกชนจะมีประสบการณ์ติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ส่วนใหญ่เลือกที่จะไม่ร้องเรียนการทุจริต เนื่องจากไม่มีความเชื่อมั่นในเรื่องของการรักษาความลับของการร้องเรียน และมีความกังวลจะส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจของตนเองและอาจถูกกลั่นแกล้ง ดังนั้น แนวทางสำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหาและป้องกันการติดสินบนในกระบวนการลงทุนและประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน คือ การเครือข่ายภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาและป้องกันการติดสินบนผ่านทางสมาคมธุรกิจเอกชน เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจต่อปัญหาที่ภาคธุรกิจต้องเผชิญกับการทุจริตและการติดสินบนในประเทศไทยอันนำไปสู่การกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม
|
เอกสารอ้างอิง (References)
ฉันท์ชนก เจนณรงค์. (2561). การยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย. วารสารวิชาการ ป.ป.ช., 11(1), 136-146.
พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565. (2565, 11 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนที่ 63ก. น. 1-9.
พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558. (2558, 22 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 4ก. น. 1-22.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561. (2561, 21 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 52ก. น. 72-180.
สำนักงาน ป.ป.ช.. (2564). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 – 2580). https://www.nacc.go.th/categorydetail/2020091618461168/20220627144705?
Transparency International. (2022). Corruption Perceptions Index 2022: Full Source Description. https://www.transparency.org/en/news/how-cpi-scores-are-calculated
Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed. Harper and Row.
|