Contrast
banner_default_3.jpg

รูปแบบการทุจริตและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 21

25/12/2567

  รูปแบบการทุจริตและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ

 

  อนัญญา แม้นโชติ
  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

 

 

 

 

  คำสำคัญ: รูปแบบ  ปัจจัย  การทุจริต  รัฐวิสาหกิจ  การจัดซื้อจัดจ้าง

 



  PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องการศึกษารูปแบบและลักษณะของการทุจริตที่เกิดขึ้นในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ วิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และจัดทำข้อเสนอแนะหรือแนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการทุจริตในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีการทุจริต 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) การทุจริตในการบริหารงานบุคคล 2) การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง 3) การทุจริตในการจัดทำงบประมาณ/โครงการ หรือเบิกจ่ายเงินในโครงการเป็นเท็จ 4) การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 5) การทุจริตยักยอกหรือเบียดบังเงินหรือทรัพย์สิน และ 6) การทุจริตเรียกรับสินบน ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการทุจริตในภาพรวม พบว่า เกิดจากปัจจัยภายในของผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจมากที่สุดที่ปฏิบัติงานอย่างไม่ซื่อสัตย์สุจริต และไม่แยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม และปัจจัยภายนอก เช่น ค่านิยมในระบบอุปถัมภ์ที่ช่วยเหลือกันในหมู่พวกพ้อง ระบบการบริหารงานและการติดตามกำกับดูแลของผู้บังคับบัญชาที่ขาดความเคร่งครัด ระเบียบของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีความแตกต่างกันในแต่ละหน่วยงานทำให้มีความไม่ชัดเจน ข้อเสนอแนะหรือแนวทางแก้ไขปัญหาการทุจริตสำหรับหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การปลูกฝังจิตสำนึก และความซื่อสัตย์สุจริตให้บุคลากรของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ มีการปรับปรุงระเบียบกฎหมายให้มีความชัดเจน หลีกเลี่ยงการตีความ และลดการใช้ดุลพินิจให้น้อยที่สุด รวมทั้งใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการปฏิบัติงานและการให้บริการบางประเภท มีระบบการตรวจสอบภายในที่มีความเข้มงวดสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการตรวจสอบติดตามในเรื่องการใช้งบประมาณในโครงการขนาดใหญ่ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง (References)


คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2558). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง “การแก้ไขปัญหาระบบอุปถัมภ์ในระบบราชการไทยให้เป็นรูปธรรม”. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.


ณัฐนันทน์ อัศวเลิศศักดิ์, บรรเจิด สิงคะเนติ, คมสัน โพธิ์คง, ศิริพร เอี่ยมธงชัย, อรรถสิทธิ์ กันมล, วรรณา เจริญพลนภาชัย, . . . วัชรพงษ์ ซื่อตรง. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในองค์กรภาครัฐที่มุ่งเน้นการดำเนินการในเชิงธุรกิจ. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและ  ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (2560, 24 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 24 ก. หน้า 13-54.


พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. (2518, 25 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 92 ตอนที่ 16 ฉบับพิเศษ. หน้า 5.


พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561. (2561, 21 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 52 ก. หน้า 1-80.


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.


สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2565, 12 มกราคม). รัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง. กระทรวงการคลัง. https://www.sepo.go.th/content/162


สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2558). หลักสูตร คู่มือ และแนวทางการสร้างเครือข่ายภาครัฐต่อต้านการทุจริต. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ.


สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2564). คู่มือปฏิบัติงานด้านการไต่สวน เล่ม 1 ทฤษฎีและหลักกฎหมายที่ใช้ในการปฏิบัติงาน. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2565). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. https://www.nacc.go.th/category/2018083118464315/list?


เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์, ธนวรรธน์ พลวิชัย, ปรีดา โพธิทอง, วาทิตร รักษ์ธรรม, หทัยรัตน์ ไชยจารุวณิช, และ สรัญญา บัญชาบุษบง. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง โครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.

Related