Contrast
banner_default_3.jpg

การพัฒนาระบบเว็บติดตามบริหารสัญญาจ้างก่อสร้างเพื่อยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใสของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 20

25/12/2567

  การพัฒนาระบบเว็บติดตามบริหารสัญญาจ้างก่อสร้างเพื่อยกระดับคุณธรรม
  และความโปร่งใสขอ'สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

 

  พิชามญชุ์ กาหลง และ นำโชค ขุนหมื่นวงค์
  สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

 

  คำสำคัญ: ระบบเว็บติดตามบริหารสัญญาก่อสร้าง  การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส  สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้  มหาวิทยาลัยมหิดล

 



  PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
      ปัจจุบันประเทศไทยได้กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องให้ความสำคัญกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่ การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก และการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อหน่วยงานภาครัฐจะต้องใช้งบประมาณลงทุนในการก่อสร้างขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินที่สูงมาก จึงมักประสบปัญหาในการทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่าง ๆ ผู้เขียนจึงได้พัฒนาระบบเว็บติดตามบริหารสัญญาจ้างก่อสร้าง เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจได้นำแนวทางนี้ไปใช้ปฏิบัติในการบริหารสัญญาจ้างก่อสร้างของหน่วยงานภาครัฐ และเพื่อชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของระบบเว็บติดตามบริหารสัญญาจ้างก่อสร้างที่จะช่วยยกระดับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานรัฐ ทั้ง 10 ด้าน ได้แก่ 1) การปฏิบัติหน้าที่ 2) การใช้งบประมาณ 3) การใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชา 4) การใช้ทรัพย์สินราชการ 5) การแก้ไขปัญหาการทุจริต 6) คุณภาพการดำเนินงาน 7) ประสิทธิภาพการสื่อสาร 8) การปรับปรุงระบบการทำงาน 9) การเปิดเผยข้อมูล และ 10) การป้องกันการทุจริต

เอกสารอ้างอิง (References)


ณัฐวัชต์ วิลัยหงษ์. (2550). การทิ้งงานของผู้รับเหมาที่นำไปสู่การบอกเลิกสัญญาโดยผู้ว่าจ้างในสัญญาโครงการ ก่อสร้างภาครัฐ. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.


นิวิท เจริญใจ และ พีรพล โอสถา. (2553). การพัฒนาระบบการจัดการสารสนเทศ เพื่อติดตามการทำงานของผู้รับเหมาช่วงในการบริหารจัดการโครงการก่อสร้าง. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 3(1), 11-22.


วรวิชญ์ สิงหนาท. (2563). ระบบติดตามการบริหารสัญญาก่อสร้าง (Construction Management Monitoring System). กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.


วุฒิพงศ์ อ่อนศรีสมบัติ. (2556). การศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความล่าช้ากับงานก่อสร้างอาคารในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. สานักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.


ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการขนส่งและจราจร. (2562). รายงานโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม พ.ศ. 2561. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร.


สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2567). ระบบติดตามบริหารสัญญาก่อสร้าง สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล. https://il.mahidol.ac.th/il49mb


สำนักงาน ป.ป.ช.. (2566). คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.


เอกกวี ภูมิฤทธิกุล. (2550). การสำรวจประเด็นปัญหาการบริหารโครงการ กรณีศึกษาการบริหารโครงการก่อสร้าง. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2546). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. ซีเอ็ดยูเคชัน.


Blackburn, S. (2002). The project manager and the project-network, International Journal of Project Management, 20, 199 – 204.


Jazayer, M. (2007). "Some Trends in Web Application Development". Future of Software Engineering (FOSE '07), 199-213.


Cheung, S. O., Cheung, K. K. W., & Suen, H. C. H. (2004). PPMS: a Web-based construction Project Performance Monitoring System. Automation in Construction, 13 (2004), 361–376.


Thompson, P.A., & Perry, J.G. (1992). Engineering Construction Risks: A Guide to Project RiskAnalysis and Risk Management. Thomas Telford.

Related