Contrast
banner_default_3.jpg

นวัตกรรมการจัดการภาครัฐเพื่อความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมถอดบทเรียนจากรัฐบาลท้องถิ่นเมืองนากา ประเทศฟิลิปปินส์

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 18

25/12/2567

  นวัตกรรมการจัดการภาครัฐเพื่อความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม
  ถอดบทเรียนจากรัฐบาลท้องถิ่นเมืองนากา ประเทศฟิลิปปินส์

 

  สิทธิโชค  ลางคุลานนท์
  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

 

 

 

 

 

  คำสำคัญ: การจัดการภาครัฐ  ความโปร่งใส  การมีส่วนร่วม  นวัตกรรม

 

 

  PDF ดาวน์โหลด

 

บทคัดย่อ
        การสร้างความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมในการจัดการภาครัฐเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจในการดำเนินงานของรัฐบาลได้อย่างมาก ตลอดจนหากสามารถดำเนินการสร้างและพัฒนาโดยเครื่องมือที่ทันสมัยย่อมเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตได้อย่างยั่งยืน ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมล้วนเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)ที่เป็นกระบวนทัศน์ในการจัดการภาครัฐที่สำคัญ นอกจากนั้นยังสอดคล้องกับแนวคิดการบริหารงานสาธารณะแนวใหม่ (New Public Administration) และการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service) ที่มุ่งเน้นการเป็นหุ้นส่วน (Partnership) ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ตลอดจนภาคประชาสังคมอื่น ๆ ในการให้บริการสาธารณะ ความท้าทายที่น่าสนใจคือ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดความโปร่งใส รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการจัดการภาครัฐได้อย่างไร
        บทความนี้ได้นำเสนอการถอดบทเรียนจากการพัฒนานวัตกรรมการจัดการภาครัฐของรัฐบาลท้องถิ่นเมืองนากา ประเทศฟิลิปปินส์ ผ่านโครงการที่น่าสนใจ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการเสริมสร้างพลังประชาชนเมืองนากา (The People Empowerment Program of Naga City: PEP) โครงการพัฒนาผลิตภาพของหน่วยราชการท้องถิ่น (Productivity Improvement Program: PIP) และโครงการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศภาครัฐ (iGovernance) ซึ่งผลลัพธ์ที่น่าสนใจจากการสร้างและนำนวัตกรรมดังกล่าวไปดำเนินการทำให้มีผลทั้งในการสร้างความเติบโตอย่างเสมอภาค (Growth with Equity) การปกครองอย่างมีส่วนร่วม การเข้าถึงข้อมูลภาครัฐ การปรับตัวเข้าสู่สังคมแห่งความรู้ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ในการร่วมมือ การมีส่วนร่วม ความโปร่งใส และความรับผิดชอบในกิจการสาธารณะร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ โดยมีปัจจัยที่ทำให้การสร้างและนำนวัตกรรมดังกล่าวไปใช้จนประสบความสำเร็จได้แก่ การสร้างแนวคิดส่งเสริมอำนาจของพลเมือง ภาวะผู้นำที่มุ่งมั่น การสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ตลอดจนระบบการจัดการภาครัฐที่มีความเป็นมืออาชีพ ทันสมัย เน้นการตอบสนองและเข้าถึงประชาชน

เอกสารอ้างอิง (References)


Alampay, R. B. (2017). Naga City: Governance for and by the People as a Way of Life. Transforming Local Government, 87-102.


iGovernance Team. (2024, March 7). CITY GOVERNMENT OF NAGA. https://www2.naga.gov.ph


Ishii, R., Hossain, F., & Rees, C. J. (2007). Participation in decentralized local governance: two contrasting cases from the Philippines. Public Organization Review, 7, 359-373.


Naga City. (2021, April 13). City of Naga: Camarines Sur – Region V. Philippines. https://naga.gov.ph/


_______. (2024a, March 14). Historical Background of Naga City. https://www2.naga.gov.ph/historical-backgound/


_______. (2024b, October 11). 2024 Approved City Budget. https://www2.naga.gov.ph/financial-reports/


Robredo, J. (2000). City Strategy and Governance: The Naga City Experience. East Asia Urban and City Management Course, Singapore.


_______. (2007). Engaging People in Local Government: The Experience of Naga City, Philippines. In Conference on Active Citizenship and Social Accountability sponsored by Australian Council for International Development (ACFID) on July (Vol. 3, p. 2007).


Rodriguez, Luz Lopez, & Min, Brian. (2003). I-GOVERNANCE IN NAGA CITY, PHILIPPINES: An Innovations in Technology and Governance Case Study, 1-6. Retrieved from https://public.websites.umich.edu/~brianmin/igovernanceNaga.pdf

Related