Contrast
Font
1d7d16412c2e115cb1f54e384e6abb6c.jpg

ป.ป.ช. จัดพิธีมอบเข็มกิตติคุณของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำปี พ.ศ. 2567 พิธีมอบรางวัลประกวดบทความวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และพิธีมอบรางวัล ITAGC AWARDS เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช. ครบรอบ 25 ปี

จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 312

19/11/2567

ป.ป.ช. จัดพิธีมอบเข็มกิตติคุณของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำปี พ.ศ. 2567 พิธีมอบรางวัลประกวดบทความวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และพิธีมอบรางวัล ITAGC AWARDS เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช. ครบรอบ 25 ปี

 

นายสาโรจน์ พึงรำพรรณ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวว่า สำนักงาน ป.ป.ช. จัดพิธีมอบเข็มกิตติคุณของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำปี พ.ศ. 2567 จำนวน 41 ราย จำแนกเป็นชั้นที่ 1 จำนวน 4 ราย ชั้นที่ 2 จำนวน 12 ราย ชั้นที่ 3 จำนวน 25 ราย และมอบรางวัลประกวดบทความวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต จำนวน 20 รางวัล และมอบรางวัล ITAGC AWARDS จำนวน 3 รางวัล เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช. ครบรอบ 25 ปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

         

  1. เข็มกิตติคุณของสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำปี พ.ศ. 2567

ตามระเบียบคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าด้วยเข็มกิตติคุณของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 มีเจตนารมณ์เพื่อให้มีการมอบเข็มกิตติคุณ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติบุคคลที่ช่วยเหลือ สนับสนุน ทำคุณประโยชน์ หรือดำเนินการอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงานป.ป.ช. อันมีลักษณะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตด้วยความอุตสาหะ เสียสละเวลา สติปัญญา เป็นแบบอย่างที่ดีและเกียรติประวัติอันดี เพื่อการยกย่องให้ปรากฏสืบไป

 

ทั้งนี้ บุคคลที่จะได้รับการพิจารณาให้ได้รับเข็มกิตติคุณต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อโดย ประธานกรรมการ กรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 บุคคลดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มีผลงานที่ได้ช่วยเหลือ สนับสนุนทำคุณประโยชน์ หรือดำเนินการอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ในด้านการป้องกันหรือการปราบปรามการทุจริต มีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ ได้รับการยอมรับ และสามารถถือเป็นแบบอย่างที่ดีต่อบุคคลอื่นในสังคม ผลงานดังกล่าวจะต้องส่งผลกระทบ หรือสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ไม่ว่าจะเป็นระดับชุมชน จังหวัด ภูมิภาค ไปจนถึงระดับประเทศ นอกจากนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวยังต้องมีลักษณะที่ต้องเผชิญกับความเสี่ยง ความยากลำบาก ต้องใช้ความอุตสาหะ มุ่งมั่นทุ่มเท หรือความเสียสละ และมีระยะเวลาที่ดำเนินการตามที่ระเบียบกำหนด

 

เข็มกิตติคุณของสำนักงาน ป.ป.ช. มี 3 ลำดับชั้น พิจารณาตามระยะเวลาที่บุคคลแต่ละท่านได้ให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ทำคุณประโยชน์ หรือดำเนินการอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือสำนักงาน ป.ป.ช. โดยชั้นที่ 1 สำหรับผู้ที่ดำเนินการเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี ชั้นที่ 2 สำหรับผู้ที่ดำเนินการมากกว่า 5 ปี และชั้นที่ 3 สำหรับผู้ที่ดำเนินการมากกว่า 3 ปี นอกจากนี้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังอาจพิจารณามอบเข็มกิตติคุณให้แก่ผู้ทำคุณประโยชน์อันโดดเด่นเป็นกรณีพิเศษ โดยยกเว้นเกณฑ์ระยะเวลาตามระเบียบดังกล่าวได้อีกด้วย

 

สำหรับ ปีพ.ศ. 2567 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติเห็นชอบรายชื่อบุคคลที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับเข็มกิตติคุณของสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 41 ราย ตามลำดับชั้น ดังนี้

 

เข็มกิตติคุณชั้นที่ 1 จำนวน 4 ราย ได้แก่

  1. ร้อยตรี สุทิน สุขสุเดช
  2. นายสุรศักดิ์ ตรีรัตน์ตระกูล
  3. นายศิวัฑฒ์ ปิยพิทักษ์
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัครินทร์ คุณกิตติ

 

เข็มกิตติคุณชั้นที่ 2 จำนวน 12 ราย ได้แก่

  1. นายพิเชษฐ์ เนียมนัด
  2. ศาสตราจารย์ พงษ์เทพ สันติกุล
  3. รองศาสตราจารย์ ประสิทธิ์ ลีระพันธ์
  4. นายเผด็จ เจริญศิวกรณ์
  5. นายสรณันท์ จิวะสุรัตน์
  6. นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง
  7. นายทนงศักดิ์ ม่วงมณี
  8. นางสาววรณธร หงส์จรรยา
  9. นายเศรษฐพงษ์ ศรีเลิศ
  10. นางชนิดาภา กุลวานิช
  11. นายสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์
  12. นายชานนท์ ราหุล

 

เข็มกิตติคุณชั้นที่ 3 จำนวน 25 ราย ได้แก่

  1. นายสันติ ทองแก้วเกิด
  2. นายปฤษฎี ไอศูรย
  3. นายสมส่วน บูรณพงษ์
  4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชัยวุฒิ เทโพธิ์
  5. นายไพวรรณ์ เขียวอ่อน
  6. นายจีระพงษ์ ชิ้นฮะง้อ
  7. ว่าที่ร้อยตรี บดี ไชยเสนา
  8. นายธีระศักดิ์ ชัยวิศิษฐ์
  9. ร้อยตำรวจตรี สุวิทย์ กาศอุดม
  10. นางศศิธร ท้าวโยธา
  11. นายศิลปพงศ์ รีรักษ์
  12. นายอัฒฎ์วุฒิ ศรีเทียม
  13. นายทรงเกียรติ ชูกำลัง
  14. นางกนกวรรณ มโนตั้งวรพันธ์
  15. นางรสสุคนธ์ ศรีอ่อน
  16. ว่าที่ร้อยตรี พงศธร สุจิตธรรม
  17. นางนิลวรัตน์ พลบูรณ์
  18. นายศักดิ์ศิลป์ ยศศักดิ์
  19. นางปณิดา โตวงษ์
  20. นายพรชัย นาคพล
  21. นางฟาตีม๊ะ พุ่มโพธิ์
  22. นายประนอบ คงสม
  23. นางฮาซานียะห์ หะยีเจะอาแว
  24. นายอิรฝัน บินนิเลาะ
  25. นายนงคาร ทวีวรรณ

 

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2568 สำนักงาน ป.ป.ช. จะเปิดรับสมัครคัดเลือกบุคคลให้ได้รับเข็มกิตติคุณของสำนักงาน ป.ป.ช. โดยผู้สนใจสามารถเสนอรายชื่อผู้มีคุณสมบัติที่จะได้รับการพิจารณาให้ได้รับเข็มกิตติคุณของสำนักงาน ป.ป.ช. ผ่านสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด และสำนักในส่วนกลางที่บุคคลดังกล่าวปฏิบัติงานร่วมด้วย ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม พ.ศ. 2568

 

  1. โครงการประกวดบทความวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 

สำนักงาน ป.ป.ช. จัดโครงการประกวดบทความวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรรหาบทความวิชาการที่มีคุณภาพ จากบุคคลภายนอกและบุคลากรสังกัดสำนักงาน ป.ป.ช. มาตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ ป.ป.ช. อันจะส่งผลให้วารสารวิชาการ ป.ป.ช. มีมาตรฐานเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กำหนด รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ทางวิชาการด้านการต่อต้านการทุจริต

 

ในการนี้ เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ลงนามในประกาศสำนักงาน ป.ป.ช. เรื่อง ผลการประกวดบทความวิชาการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 9 กันยายน 2567 แล้ว จำนวน 20 บทความ โดยมีรายละเอียดผู้ได้รับรางวัล ดังนี้

ประเภทที่ 1 บุคลากรในสถาบันการศึกษา

1.1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 7,000 บาท ได้แก่ นายสิทธิโชค ลางคุลานนท์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ บทความนวัตกรรมการจัดการภาครัฐเพื่อความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม กรณีศึกษารัฐบาลท้องถิ่นเมืองนากา ประเทศฟิลิปปินส์

1.2 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นายอินทัช ขวัญสถาพรกุล โรงเรียนบ้านหนองสองพี่น้อง บทความการสร้างองค์กรปราศจากการทุจริต ตามรูปแบบ PURE Anti-Corruption : การป้องกันและปราบปรามการทุจริตโดยการมีส่วนร่วม การปลูกฝังจิตสำนึก การบริหารความเสี่ยง และการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ

 

ประเภทที่ 2 บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ

          2.1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 7,000 บาท ได้แก่

  1. นางณัฏฐ์สุมน สมสมาน 
  2. นายสมใจ ทองกุล 
  3. นางสาวนิศาพร สุทธิมาร

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร บทความการเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใสในภาครัฐ: กรณีศึกษาสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

2.2 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นายทายาท สุพิมพานนท์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บทความแนวทางการส่งเสริมและคุ้มครองประชาชน ในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

2.3 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นายกันตภณ เลอธนกุล กรมปศุสัตว์ บทความการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ : กรณี นโยบายไม่รับของขวัญ

2.4 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นายบุญชาย ชุมแสงหิรัญ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน บทความภารกิจของผู้แทนประเทศไทยในการตรวจสอบหน่วยงานระหว่างประเทศ

2.5 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ ส.ต.ท. นุภริศญ์ สิงห์ทอง ค่ายสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทความมาตรการในการแก้ปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์

2.6 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่

  1. นายติณณภพ พัฒนะ
  2. นายเกษม จิตติวุฒินนท์
  3. นางสาวคณิศร เทียนทอง

สำนักงาน ป.ป.ช. และโรงพยาบาลนครปฐม บทความนิยามและตัวบ่งชี้พฤติกรรมระหว่างความซื่อสัตย์และความสุจริต

2.7 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นายวรพล ศรีเทพ โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 102 (บ้านเกาะเต่า) บทความการเสริมสร้างความตระหนักรู้และป้องกันการทุจริตภายในสถานศึกษายุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกระบวนการ PROMT – CLEAR

 

ประเภทที่ 3 นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี

          3.1 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่

  1. นายวรัณยู เหง่าโพธิ์
  2. นางสาวมนัสนันท์ ชูตินันท์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น บทความการเสริมสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตในภาคประชาชนด้วยรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์

 

ประเภทที่ 4 นิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทขึ้นไป)

          4.1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 7,000 บาท ได้แก่ นายโสรัตน์ ขันตี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บทความการประกอบสร้างอัตลักษณ์ความซื่อสัตย์สุจริตในเด็กและเยาวชนไทย

          4.2 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ ว่าที่ร้อยตรี กมลสัณห์ ศรียารัณย มหาวิทยาลัยรามคำแหง บทความมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของหน่วยงานของรัฐ: กรณีศึกษา การขับเคลื่อนมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงยุติธรรม

          4.3 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นายธีระพล สุทธินันท์ FernUniversitat in Hagen สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี บทความแนวคิดของอัตราการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลตามกฎหมายไทย เทียบกับหลักกฎหมายอาญาในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

 

ประเภทที่ 5 นักเรียนระดับมัธยมศึกษา

5.1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 7,000 บาท ได้แก่ นางสาวพรไพลิน บุดดา โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดกะพังสุรินทร์) บทความการเสริมสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตของเด็กและเยาวชน

          5.2 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นางสาวรสกร แซ่ลี้ โรงเรียนพบพระวิทยาคม บทความการโกงข้อสอบของนักเรียนคือจุดเริ่มต้นของการคอร์รัปชัน

          5.3 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นางสาวโซฮารา มะหะหมัด โรงเรียนวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณราชวิทยาลัย สตูล บทความผลประโยชน์สีเทา

          5.4 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นายณัฏฐ์ กู้เจริญประสิทธิ์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บทความการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการป้องกันการทุจริต

          5.5 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นางสาวภคอร ไชยรักษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน บทความบทบาทของเด็กและเยาวชนกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต

          5.6 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่ นางสาววรัญญา กะลูแป โรงเรียนสาธิตวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บทความการเสริมสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต

          5.7 รางวัลชมเชย ได้รับโล่รางวัล เกียรติบัตรและเงินรางวัล 5,000 บาท ได้แก่

  1. นายชินวีร์ วิเศษสรรค์
  2. นายนันทิพัฒน์ ชาป่ง
  3. นายธิติพัทธ์ ชาป่ง
  4. นายอิทธิพัทธ์ ชาป่ง

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทความพฤติกรรมสะท้อนบทบาทของเด็กและเยาวชนไทยในการป้องกันปัญหาการทุจริต

 

  1. รางวัล ITAGC AWARDS

สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ได้พัฒนาเครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาคเอกชน ที่เป็นคู่ค้าคู่สัญญากับหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment of Government Contractors) หรือ ITAGC ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมหน่วยงานภาคเอกชนให้เป็นคู่ค้าคู่สัญญา กับหน่วยงานภาครัฐที่ดี มีแนวทางการต่อต้านการให้สินบนที่เหมาะสม ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบการเป็นคู่ค้าคู่สัญญาภาครัฐอย่างเคร่งครัด ปราศจากการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม การให้ทรัพย์สินและประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างหน่วยงานภาคเอกชนกับหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมการไม่ให้ ไม่รับ เพื่อเป็นฐานในการดำเนินธุรกิจที่มีความโปร่งใส โดยผลการประเมินที่ได้จะช่วยให้หน่วยงานภาคเอกชนสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาองค์กร ให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและพัฒนาระบบการบริหารภายใน รวมถึงเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดีขณะเดียวกันการประเมิน ITAGC ยังเป็นเครื่องมือในการยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของภาคเอกชน ให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงยังเป็นกรอบแนวทางในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบขององค์กร อีกด้วย

 

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีกลุ่มเป้าหมายหน่วยงานภาคเอกชนที่เป็นคู่ค้าคู่สัญญากับหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมิน ITAGC ทั้งหมด 133 หน่วยงาน ซึ่งเป็นโครงการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 133 โครงการ มูลค่างบประมาณรวมทั้งสิ้น 29,663,928,674 บาท สามารถแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกได้เป็น 3 มิติ มีรายละเอียดดังนี้

1) มิติที่ 1 ระดับนโยบาย คือ กลุ่มเป้าหมายหน่วยงานภาคเอกชนที่เป็นคู่ค้าคู่สัญญากับหน่วยงานภาครัฐตามนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่ โครงการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐของกระทรวงคมนาคมภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ รวมถึงแผนปฏิบัติการด้านท่าอากาศยาน และโครงการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ภายใต้แผนงานบูรณาการด้านบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ รวมถึงแผนปฏิบัติราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีโครงการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดจำนวน 111 โครงการ และมีหน่วยงานภาคเอกชนที่เข้าร่วมการประเมินฯ ทั้งหมดจำนวน 111 หน่วยงาน

2) มิติที่ 2 ระดับเชิงพื้นที่ คือ กลุ่มเป้าหมายหน่วยงานภาคเอกชนที่เป็นคู่ค้าคู่สัญญากับหน่วยงานภาครัฐตามแผนงานหรือโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งหมด 22 โครงการ และมีหน่วยงานภาคเอกชนที่เข้าร่วมการประเมินฯ ทั้งหมดจำนวน 22 หน่วยงาน

3) มิติที่ 3 หน่วยงานภาคเอกชนที่ได้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐตามหลักเกณฑ์ของกรมบัญชีกลาง ทั้ง 7 สาขางาน ในระดับชั้นพิเศษ ชั้น 1 ชั้น 2 และชั้น 3 โดยมีหน่วยงานภาคเอกชนที่เข้าร่วมการประเมินฯ ทั้งหมดจำนวน 84 หน่วยงาน (ในมิติที่ 1 จำนวน 75 หน่วยงาน และมิติที่ 2 จำนวน 9 หน่วยงาน)

 

โดย ผลคะแนนการประเมิน ITAGC ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมของหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินทั้งหมด 133 หน่วยงาน เท่ากับ 74.11 คะแนน อยู่ในระดับ ต้องปรับปรุง

 

สำหรับผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาคเอกชนที่เป็นคู่ค้าคู่สัญญากับหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment of Government Contractors) หรือ ITAGC ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มีหน่วยงานภาคเอกชนที่มีคะแนนผลการประเมินสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่

  1. บริษัท บ้านค่ายผลิตภัณฑ์คอนกรีต จำกัด ผลคะแนนเฉลี่ย 98.37  อยู่ในระดับ ผ่านดี
  2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อภิษฎาคอนส์ ผลคะแนนเฉลี่ย 98.10 อยู่ในระดับ ผ่านดี
  3. บริษัท ไอเอ็มเอ็มเอส จำกัด ผลคะแนนเฉลี่ย 96.19 อยู่ในระดับ ผ่านดี

Related