จากไชต์: สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) สนามบินน้ำ
จำนวนผู้เข้าชม: 280
พลังประชาชน กับการต่อต้านทุจริต
“ภาคประชาชน ถือได้ว่าเป็นบทบาทสำคัญในการสอดส่องและแจ้งเบาะแสการทุจริตของเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะประชาชนในฐานะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการทุจริต ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ไม่โปร่งใส หรือไม่ถูกต้องจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ สามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จะสามารถช่วยเปิดเผยการทุจริตได้ และนำไปสู่การตรวจสอบหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย เมื่อประชาชนให้ข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจนก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างความโปร่งใสในระบบราชการและภาครัฐให้ดีขึ้นได้”
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 33 เพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดมาตรการและกลไกที่จำเป็นต่อการดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
1) การส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้ความรู้ ต่อต้าน หรือชี้เบาะแส โดยได้รับความคุ้มครอง รวมทั้งจัดให้มีช่องทางการแจ้งข้อมูล เบาะแส หรือพยานหลักฐาน สำหรับการกระทำความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยช่องทางดังกล่าว ต้องมีวิธีการที่ง่าย สะดวก ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก และไม่ก่อผลร้ายกับผู้แจ้งข้อมูลดังกล่าว รวมทั้งดำเนินการ เพื่อป้องกันการทุจริต ตลอดจนเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต
2) ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนหน่วยงานของรัฐในการจัดให้มีกลไกการแจ้งเตือน กรณีพบว่า มีพฤติการณ์ที่ส่อว่าอาจมีการทุจริตในหน่วยงานของตน
3) ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายของการทุจริต รวมถึงค่านิยมที่เน้นการพึ่งพาระบบอุปถัมภ์ในสังคม เพื่อให้เกิดการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างกว้างขวาง
4) รับฟังข้อเสนอแนะจากประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐเพื่อนำไปปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
จากกฎหมายข้างต้น จะเห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 33 รัฐจะต้องให้การสนับสนุน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการต่อต้านการทุจริต ซึ่งมีการกำหนดให้ประชาชนสามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการทุจริตได้ โดยการที่รัฐสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นเรื่องการให้ความรู้ ออกมาตรการการป้องกันการทุจริต หรือช่องทางการแจ้งเบาะของการทุจริตนั้น จะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างการต่อต้านการทุจริตให้มีประสิทธิภาพในระดับสังคมมากยิ่งขึ้น โดยไม่เพียงแต่จะเป็นการแสดงออกทางการเมืองหรือการรับรู้ปัญหา แต่ยังช่วยเพิ่มการตรวจสอบและความโปร่งใสในกระบวนการต่าง ๆ ของรัฐ
พลังประชาชนมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านการทุจริต เนื่องจากประชาชนเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการทุจริต และการมีส่วนร่วมของประชาชนสามารถช่วยส่งเสริมการปฏิรูปและการปรับปรุงระบบการบริหารงานให้โปร่งใสและยุติธรรมได้ เพราะปัจจุบันประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงภัยทุจริต โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ จึงทำให้สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐเบื้องต้นได้สะดวก ดังนั้น พลังประชาชนในการต่อต้านการทุจริตมีหลายด้านสำคัญ ดังนี้
ประชาชนสามารถเป็นกำลังสำคัญในการสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลหรือองค์กรต่าง ๆ ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล โดยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ การจัดกิจกรรมรณรงค์ หรือการเข้าร่วมในการประท้วงเพื่อเรียกร้องความโปร่งใสและการปฏิรูป เช่น การเคลื่อนไหวหรือการลงลายชื่อในคำร้องที่เรียกร้องให้มีการปราบปรามการทุจริต
ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณหรือโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล การใช้สิทธิ์ในการร้องเรียน หรือการแจ้งเบาะแสให้กับองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งการแจ้งเบาะแสของประชาชนสามารถช่วยให้เกิดการตรวจสอบและเปิดเผยการทุจริตได้
พลังประชาชนในการเลือกตั้งเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการทุจริตในรัฐบาล หากประชาชนเลือกผู้แทนที่มีคุณธรรมและมีจริยธรรม ย่อมช่วยให้เกิดการปกครองที่โปร่งใสและยุติธรรม และการเลือกตั้งที่โปร่งใสจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้มีอำนาจต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน
การรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของผลกระทบจากการทุจริตและการส่งเสริมการปฏิบัติตามจริยธรรมเป็นสิ่งที่ประชาชนสามารถทำได้ ทั้งการจัดสัมมนา การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อมวลชน หรือการใช้โซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ข้อความและข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต
ประชาชนสามารถสนับสนุนและร่วมมือกับองค์กรภาคประชาสังคมที่มีภารกิจในการตรวจสอบและต่อต้านการทุจริต เช่น การร่วมมือกับมูลนิธิหรือองค์กรที่ทำงานในด้านสิทธิพลเมืองและการต่อต้านการทุจริต ซึ่งจะช่วยให้เกิดการติดตามผลและการปฏิรูปในระยะยาว
ประชาชนสามารถใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อมวลชนในการเปิดเผยและรายงานการทุจริตที่เกิดขึ้น เช่น การโพสต์ข้อมูลที่ถูกต้องและมีหลักฐานในโซเชียลมีเดีย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสืบสวนสอบสวน และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบ
ประชาชนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่อต้านการทุจริตจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการสร้างวัฒนธรรมความโปร่งใสในสังคม โดยการไม่ยอมรับการทุจริตและการมีจริยธรรมที่สูงในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า พลังประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างกลไกทางสังคมที่ปราศจากการทุจริต ซึ่งการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน หรือองค์กรที่มีหน้าที่ในการป้องกันการทุจริต สามารถสร้างแรงกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และทำให้การทุจริตถูกตรวจจับและปราบปรามได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
สำหรับสำนักงาน ป.ป.ช. ในฐานะที่เป็นองค์กรหลักในด้านการปราบปรามการทุจริต มีความมุ่งมั่นที่ต้องการให้ปัญหาการทุจริตในสังคมไทยหมดไป ทั้งนี้สำนักงาน ป.ป.ช. เพียงหน่วยเดียวไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้เพียงลำพัง จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะที่สำคัญคือ พลังของประชาชนที่จะเป็นพลังสำคัญในการต่อต้านการทุจริตโดย “ไม่ทำ ไม่ทน ไม่เฉย รวมไทยต้านโกง” ซึ่งถือเป็นความมุ่งมั่นที่จะช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันจะค่อย ๆ ลดลงจนสุดท้ายหมดสิ้นไป ดังนั้น หากพบเห็นเจ้าพนักงานของรัฐกระทำการทุจริต ขอให้แจ้งเบาะแสหรือเรื่องร้องเรียนมายังสำนักงาน ป.ป.ช. ผ่าน 6 ช่องทาง ได้แก่
และ 6. กล่องรับเรื่องร้องเรียน ที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด