วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ : 18 มีนาคม 2557
ความเป็นมา
ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนในการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปีการผลิต 2554/55 และ ปีการผลิต 2555/56 ว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ และมีการรับจำนำในราคาต่ำกว่าราคารับซื้อของผู้ประกอบการ ประกอบกับคณะกรรมกการ ป.ป.ช. ได้มอบให้มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ศึกษาวิจัยเรื่อง “มาตรการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังเพื่อป้องกันการทุจริต” เมื่อปี พ.ศ. 2554 จากการศึกษาพบว่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาการดำเนินการยังไม่มีประสิทธิภาพ เกิดปัญหาการทุจริต เป็นการสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมาก
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงเห็นสมควรเสนอมาตรการป้องกันการทุจริตในการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังต่อคณะรับมนตรีเพื่อพิจารณา และมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ตามนัยมาตรา 19 (11) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ
1. ยกเลิกโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังซึ่งสร้างผลตอบแทนให้แก่เกษตรกรในวงจำกัดแต่สร้างผลกำไรให้แก่ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจำนวนมาก หากรัฐต้องการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างทั่วถึงพร้อมกับพึ่งพิงวิธีที่ไม่ฝืนกลไกตลาดในระยะยาว จะต้องนำการประกันความเสี่ยงด้านราคามาใช้ เป็นการประกันราคาขั้นต่ำให้เกษตรกร ทั้งนี้ ราคาประกันขั้นต่ำไม่ควรตั้งสูงจนเกินไป แต่ต้องสูงกว่าต้นทุนการผลิตโดยเฉลี่ยของเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถอยู่ได้ มาตรการดังกล่าวมีข้อดี คือ
1.1 เกษตรกรทุกรายที่ปลูกมันสำปะหลังสามารถเข้าร่วมโครงการได้
1.2 ลดความวิตกของเกษตรกรในเรื่องความผันผวนของราคาตลาด
1.3 กลไกตลาดยังคงดำเนินต่อไปได้โดยไม่ถูกบิดเบือน
1.4 รัฐไม่มีภาระค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าจ้างแปรรูป ค่าเก็บรักษา เป็นต้น นอกจากเงินชดเชยที่ต้องจ่ายในกรณีที่ราคาตลาดอ้างอิงต่ำกว่าราคาประกัน
1.5 รัฐไม่มีภาระในการเก็บรักษาและการระบายผลผลิตซึ่งผิดกับการรับจำนำ เพราะรัฐไม่ต้องรับซื้อผลผลิตมาเก็บรักษา จึงช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้มาก
1.6 ลดโอกาสการทุจริตในเกือบทุกขั้นตอนและทุกระดับ
2. สนับสนุนเงินทุนให้เกษตรกรกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำในระหว่างชะลอการขุดหัวมันไม่ให้ออกสู่ตลาดในคราวเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน
3. สนับสนุนให้มีการสร้าง Cluster มันสำปะหลังระหว่างโรงงานกับเกษตรกร เพื่อให้มีการวางแผนการผลิตและการตลาดร่วมกัน
4. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรและฐานข้อมูลการผลิตอย่างเป็นระบบและมีการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อให้นโยบายการส่งเสริมหรือช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังของรัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ให้แก่เกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และใช้ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่ดีและวิธีการเพราะปลูกที่เพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้งให้มากขึ้น รวมถึงการร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการให้คำแนะนำและกำหนดแนวทางเพื่อช่วยแก้ไขการระบาดของเพลี้ยแป้ง เพราะเกษตรกรไทยยังขาดแคลนการพัฒนาศักยภาพการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดต้นทุนการผลิต และยกระดับคุณภาพของมันสำปะหลั
6. ส่งเสริมการใช้มันสำปะหลังในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่สร้างมูลค่าเพิ่ม การผลิตเอทานอลเพื่อป้อนอุตสาหกรรมการผลิตแก๊สโซฮอล์นับเป็นแนวทางหนึ่งที่เป็นไปได้ การพัฒนาทางเลือกนี้จะช่วยให้เกิดความต้องการใช้มันสำปะหลัง ทำให้ราคาหัวมันสำปะหลังมีเสถียรภาพมากขึ้นกว่าเดิม เพราะมีอุปสงค์รองรับ
มติคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2557 ลงมติรับทราบข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการทุจริตในการดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง และมอบให้คณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังรับข้อเสนอไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ กรณีเรื่องใดที่จะมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ก็ให้พิจารณาความจำเป็นเหมาะสมเพื่อนำเสนอคณะรับมนตรีชุดใหม่ต่อไป
ความเห็นของหน่วยงาน :
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงพลังงาน
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
มาตรการ ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบ/เสนอ ครม.ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการ จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม Environmental Impact Assessment : EIA) มติ...
มาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ที่มาและความสำคัญ ปัญหาเกี่ยวกับ “แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย” มีสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ การทุจริตของเจ้าหน้าที่ หรือการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษาการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร เนื่องจากปัจจุบันมีการขยายตัวของเมืองในด้านการก่อสร้างอาคารมากขึ้น โดยเฉพาะ...
การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เมื่อปีพ.ศ. 2565 ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนผู้เคยตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยในคดีอาญา และคด...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการดำเนินงานร้านสงเคราะห์ผู้ต้องขัง ที่มาและความสำคัญ ด้วยกรมราชทัณฑ์ได้ขอรับคำแนะนำหรือแนวทางป้องกันและปราบปรามการทุจริต จากสำนักงาน ป.ป.ช. ในการวางมาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายของกิจการร้านสงเคราะห์ผู้ต้อง...
ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหนังสือและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องกล่าวหาร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อหนัง...
มาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในกระบวนการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการดูดทรายในที่ดินของรัฐ ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษามาตรการป้องกันความเสี่ยงต่อการทุจริตในกระบวนการพิจารณาอนุญาตประกอบกิจการดูดทรายในที่ดินของรัฐ นอก...
มาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ที่มาและความสำคัญ ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการศึกษามาตรการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการขุดดินและถมดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ด้วยปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขุดดินโดยมิชอบด้ว...