Contrast
banner_default_3.jpg

สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสังคมไทย: วิธีการ ตัวชี้วัด ผลกระทบ และข้อคิดเพื่อการแก้ไข

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 231

16/12/2563

สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในสังคมไทย:

วิธีการ ตัวชี้วัด ผลกระทบ และข้อคิดเพื่อการแก้ไข[1]

 

วิธีการคอร์รัปชันที่พบในประเทศไทยมีรูปแบบหลัก ๆ ดังนี้

  1. การเรียกเก็บภาษีคอร์รัปชัน หรือ การเรียกรับสินบน ส่วย สินน้ำใจ และเงินใต้โต๊ะ เป็นต้น
  2. การดึงเงินงบประมาณแผ่นดินจากค่าคอมมิชชันโครงการมาเป็นของตน
  3. การจ่ายสินบนเพื่อให้ได้มาซึ่งการผูกขาดทางธุรกิจหรือการผูกขาดการประมูลโครงการ
  4. การเล่นพรรคเล่นพวก การดำรงตำแหน่งหลายหน่วยงาน จนนำไปสู่ “ผลประโยชน์ทับซ้อน”
  5. การใช้อำนาจทางการเมือง “คอร์รัปชันเชิงนโยบาย” ที่เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทตนเอง ครอบครัว

 

ตัวชีวัดระดับคอร์รัปชันและความโปร่งใส ในระบบราชการและการเมือง (ศึกษาวิจัยในช่วงทศวรรษ 2540)

          โดยทั่วไปหัวหน้าครัวเรือนไม่ประสบปัญหาด้านการคอร์รัปชันในการบริการด้านสาธารณูปโภค และอื่น ๆ ของไทยมากนัก แต่นักธุรกิจมีปัญหาหนักในหน่วยงานบางแห่งที่มีการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์มูลค่าสูงหรือมีอำนาจมากที่เกี่ยวโยงกับเรื่องที่ดิน ภาษี ศุลกากร ตำรวจ และการศาล ด้านการเมือง มีการชื้อเสียงเป็นปัญหาสำคัญ ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองและข้าราชการระดับสูง มีปัญหาโดยเฉพาะการชื้อตำแหน่ง

 

ผลกระทบของการมีรัฐบาลคอร์รัปชัน

          การมีรัฐบาลคอร์รัปชันนำผลเสียมาสู่สังคมมากกว่าผลได้ส่วนตัวที่นักการเมืองได้รับ ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมประเมินได้หลายรูปแบบ วิธีหนึ่งคือประเมินจากตัวเงินที่รั่วไหลออกจากงบประมาณแผ่นดิน
การทำงานของข้าราชการและนักการเมืองต่ำกว่ามาตรฐาน ประชาชนได้รับบริการต่ำกว่ามาตรฐานและถูกเอารัดเอาเปรียบจากภาคเอกชน การก่อสร้างสาธารณูปโภคมีมาตรฐานต่ำที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

 

ข้อคิดและคำถามสู่แนวทางแก้ไข

  1. มาตรการตามกฎหมาย บทลงโทษตามกฎหมายที่มีอยู่แล้วควรแก้ไขเพิ่มเติม หลักการผู้กระทำผิด ไม่ควรได้ผลประโยชน์จากการกระทำความผิดนั้น
  2. มาตรการทางวัฒนธรรม มีการประณามผู้ทำการทุจริต ส่งเสริมให้เกียรติผู้ซื่อตรง รณรงค์ด้านจริยธรรมคุณธรรมและปรับค่านิยม การสร้างแนวร่วมเพื่อต่อต้านการทุจริต สร้างวัฒนธรรมแสดงความรับผิดชอบและวัฒนธรรมแมลงตอมกันได้ เป็นต้น
  3. มาตรการป้องปรามระยะสั้น

          - คอร์รัปชันระดับล่างได้แก่ข้าราชการชั้นผู้น้อย กำจัดช่องทางสู่การคอร์รัปชันโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย กรณีตำรวจจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากตำรวจด้วยกันเอง และตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเป็นกรณีพิเศษ ปราบราคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ได้แก่การส่งส่วย สินบน จากการจัดชื้อจัดจ้าง การสมยอมในการประมูลโครงการ จัดให้มีหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนกรณีคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ

          - คอร์รัปชันระดับสูงได้แก่ข้าราชการระดับสูงและนักการเมือง  ส่งเสริมให้มีการใช้สิทธิของ ป.ป.ช. ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ

          - ป.ป.ช. มีอำนาจมากขึ้น แต่งบประมาณจำกัด บุคลากรมีจำกัด ทั้งยังต้องการพัฒนา ?

          - บางประเทศประชาชนสามารถนำเรื่องการคอร์รัปชันเสนอต่ออัยการให้ดำเนินการฟ้องร้องศาลได้โดยตรง เหตุใดประเทศไทยจึงยังทำไม่ได้ ?

 

[1] สรุปจากวารสารวิชาการ ป.ป.ช. ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (มกราคม 2552 : เขียนบทความโดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร)

  สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.nacc.go.th/download/sakdinan_khu/y2/ton2_2.pdf

Related