Contrast
25649d20bbf9f9b9f676f7b607d3d107.png

จริยธรรมในการพิมพ์

จากไชต์: วารสารวิชาการ
จำนวนผู้เข้าชม: 898

30/06/2563

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)
     1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ และประเมินต้นฉบับด้วยความเป็นธรรมทางวิชาการ โดยพิจารณาจากความสำคัญ
         ของเนื้อหา ความใหม่ ความชัดเจน ความสอดคล้องของเนื้อหาและขอบเขตของวารสาร โดยปราศจากอคติด้านเชื้อชาติ
         ความเชื่อทางศาสนา เพศ แนวคิดทางการเมือง และสถาบันที่สังกัด
     2. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ผู้ประเมิน และทีมผู้บริหาร
     3. บรรณาธิการต้องตรวจสอบบทความด้านในว่ามีความคล้าย ซ้ำซ้อน หรือคัดลอกของผู้อื่น หากพบความซ้ำซ้อนหรือคัดลอกผลงานของผู้อืื่น
         บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ”
         การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
     4. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นฉบับ และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
     5. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนของวารสารอย่างเคร่งครัด รวมถึงต้องพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและทันสมัย

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)
     1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเป็นผลงานใหม่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์
         ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์วิชาการอื่น
     2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น และหากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้นำเสนอ หรือใช้ข้อความในเนื้อหาบทความของตนเอง
         ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่นรวมทั้งจัดทำรายงานอ้างอิงทั้งในเนื้อหาและท้ายบทความโดยให้มีรูปแบบที่ถูกต้องครบถ้วน
         เพื่อให้ผู้อ่านสามารถตรวจสอบหรือค้นหาเพิ่มเติมแหล่งที่มาของข้อมูลได้
     3. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ใน “คำแนะนำของผู้เขียน”
     4. ผู้นิพนธ์ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
     5. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนสนับสนุนในการทำผลงานทางวิชาการ

บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)
     1. ผู้ประเมินบทความ ต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาแก่บุคคลอื่น ๆ
         ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ (Confidentialty)
     2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ
         ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ต้องแจ้งบรรณาธิการวารสารทราบ และปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ
     3. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความสำคัญของเนื้อหาในบทความที่จะมีต่อ
         สาขาวิชานั้น ๆ คุณภาพของการวิเคราะห์ และควรประเมินด้วยความเป็นกลาง เที่ยงธรรม ปราศจากอคติ
     4. ผู้ประเมินต้องประเมินผลงานที่กองบรรณาธิการเตรียมให้ และส่งผลการประเมินตรงตามเวลาที่กองบรรณาธิการกำหนดไว้

Related